Page 19

แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

15 โรง ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ ส่วนด้านทิศใต้ติดกับเขาสามพระยา ซึ่งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนหมายเลข 87 มีพื้นที่อยู่ในขอบเขตของลุ่มน้ำห้วยทราย มีสภาพเป็นป่าผสมผลัดใบ (ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) ส่วน บริเวณตอนกลางของพื้นที่โครงการฯ เป็นพื้นที่ราบลุ่มสลับเนินเขา เป็นที่ตั้งของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วย ทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีสภาพเป็นป่าผสมผลัดใบ ป่ารุ่นสอง และพื้นที่ปลูกฟื้นฟูป่า นอกจากนี้ ยัง มีพื้นที่ทำการเกษตร พื้นที่ชุมชน มีโครงข่ายถนน และสาธารณูปโภคต่าง ๆ และด้านตะวันออกของพื้นที่ โครงการฯ เป็นพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล โดยพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในความดูแลของอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิ รินธร ค่ายพระรามหก พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และค่ายนเรศวร โดยมีสภาพเป็นพื้นที่ป่าชายเลน ป่า ชายหาด ชายหาด และมีสิ่งก่อสร้าง อาคาร บ้านพักกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ ซึ่งจากสภาพของพื้นที่ทั้งสองลุ่ม น้ำ พบว่า พื้นที่ป่าที่เหลืออยู่พบตามบริเวณที่เป็นพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีสภาพดินค่อนข้างตื้น บางพื้นที่เป็นหิน จึงไม่ เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร สภาพส่วนใหญ่จึงยังมีป่าหลงเหลืออยู่ เนื่องจากเป็นสภาพที่ไม่ เหมาะสมกับการทำการเกษตร การวางแผนการใช้ที่ดิน และการกำหนดมาตรการการใช้ที่ดินจึงเป็น แนวทางปฏิบัติที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน ด้วยเหตุผลของการพัฒนาพื้นที่ในบริเวณอำเภอชะอำ จังหวัด เพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และมี กิจกรรมการใช้ที่ดินอย่างเข้มข้น การกำหนดขอบเขตพื้นที่ใช้ประโยชน์โดยเฉพาะพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและพื้นที่ใช้ประโยชน์รูปแบบต่าง ๆ ต้องมีความชัดเจน ทั้งนี้ พื้นที่บริเวณนี้ซึ่งสภาพ ภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ภูเขาเป็นบริเวณที่ยังมีพื้นที่ป่าหลงเหลืออยู่ จึงควรกำหนดพื้นที่เหล่านี้ให้เป็นพื้นที่เพื่อ การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ทั้งในรูปแบบของป่าสงวนแห่งชาติ หรือลักษณะของป่าชุมชนที่ราษฎรช่วยกันดูแล รักษา โดยเป็นบริเวณที่ต้องเก็บรักษาสภาพป่าที่เหลืออยู่ รวมทั้งป้องกัน ฟื้นฟู และรักษาสภาพของพื้นที่ป่าไว้ รวมทั้งต้องมีมาตรการควบคุมการใช้ที่ดินอย่างเข้มข้นควบคู่ไปด้วย ส่วนพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตร ก็ ควรมีการใช้มาตรการอนุรักษ์ดิน และน้ำที่เหมาะสม รวมทั้งอาจมีการใช้มาตรการพืชคลุมดินหลาย ๆ ระดับ ทั้งไม้ใหญ่ยืนต้น ไม้พุ่ม พืชไร่ หรือประยุกต์ใช้ระบบวนเกษตร และเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ทั้งนี้ การวางแผนการใช้ที่ดิน และการกำหนดมาตรการการใช้ที่ดิน เป็นงาน สำคัญ และเร่งด่วนที่ควรดำเนินการก่อนกิจกรรมอื่น ๆ โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และประชาชนใน พื้นที่ต้องสร้างความเข้าใจ และมีข้อตกลงร่วมกันในการพิจารณากำหนดขอบเขตพื้นที่ใช้ประโยชน์ให้เหมาะสม รวมทั้งต้องสร้างความเข้าใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ได้รับทราบด้วย 2) การฟื้นฟูป่า แม้ว่าปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษาจะถูกจำกัดด้วย สภาพภูมิประเทศ และความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ แต่จากสภาพความแห้งแล้ง ปัญหาดินที่เป็นทรายจัด และ การเกิดไฟป่า ทำให้พื้นที่ป่าไม้มีสภาพที่เสื่อมโทรมลง รวมทั้งปัญหาการบุกรุกที่เกิดขึ้นมาในอดีต และมีการ ฟื้นฟูป่าในช่วงต่อมาซึ่งป่าก็ยังมีสภาพที่ไม่สมบูรณ์มาก สำหรับการฟื้นฟูสภาพป่าที่มีการดำเนินการในพื้นที่ นอกจากการปลูกต้นไม้เสริมในพื้นที่ป่าทั้งป่าบก และปลูกพลิกฟื้น (Afforestation) ผืนป่าชายเลน และป่า ชายหาดแล้ว ยังมีลักษณะของการฟื้นฟูสภาพป่าตามธรรมชาติ(Natural succession) และการปลูกต้นไม้ใน ลักษณะของไม้ชนิดเดียว และปลูกผสมกันหลายชนิด โดยเป็นการปลูกชนิดไม้โตเร็ว เช่น ยูคาลิปตัส กระถิน ยักษ์ กระถินณรงค์ เป็นต้น รวมทั้งต้นไม้ชนิดอื่น ๆ ที่ปลูก เช่น สีเสียด ขะเจ๊าะ อะราง เขลง ยางนา สน ประดิพัทธ์ เป็นต้น ซึ่งพื้นที่ฟื้นฟูป่าส่วนใหญ่พบบริเวณตอนกลางของพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย (บริเวณศูนย์ ศึกษาฯ ห้วยทราย) และบริเวณเขาสามพระยา พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยทราย


แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above