Page 20

แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

16 สำหรับแนวทางในการฟื้นฟูป่าโดยการปลูกต้นไม้ในบริเวณพื้นที่ศึกษา ซึ่งมี ปัจจัยจำกัดทั้งจากสภาพอากาศที่ร้อน และแห้งแล้ง สภาวะการขาดแคลนน้ำที่ยาวนาน สภาพดินที่เป็นดินตื้น และเนื้อดินเป็นทรายจัด ซึ่งทำให้การฟื้นฟูป่าเป็นไปได้ยาก ซึ่งแนวทางในการพิจารณาเลือกชนิดพรรณพืชที่ ทนทานต่อความแห้งแล้ง และเป็นพืชท้องถิ่นดั้งเดิมของพื้นที่ อาจเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถพิจารณา ดำเนินการได้รวมทั้งต้องพิจารณาเทคโนโลยีในการปลูกโดยใช้พัฒนาระบบน้ำโดยการนำน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดิน หรือแหล่งน้ำอื่น ๆ ที่พัฒนาขึ้นมาใช้ร่วมด้วย สำหรับชนิดไม้ในกลุ่มมะเกลือ (วงศ์Ebenaceae) ตะแบก เสลา อินทรชิต (วงศ์Lythraceae) ข่อย โมกมัน ไม้วงศ์ Leguminosae หลายชนิด รวมทั้งมะเดื่อ และไทร (วงศ์ Moraceae) สามารถพิจารณานำมาเป็นชนิดที่ปลูกฟื้นฟูป่าได้ นอกจากนั้น หากมีปริมาณน้ำเพียงพอ หรือมี มากขึ้น สามารถทำการพัฒนาป่าไม้ด้วยระบบป่าเปียก (Wet fire break) ควบคู่ไปด้วยได้ โดยการทำฝายใน พื้นที่ป่า หรือสร้างบ่อน้ำขนาดเล็กเพื่อช่วยในการเก็บกักน้ำ และปล่อยให้น้ำไหลหล่อเลี้ยงในพื้นที่ป่าเพื่อเพิ่ม ความชุ่มชื้นของดิน สำหรับการฟื้นฟูป่าชายเลนโดยการปลูกพลิกฟื้นผืนป่าขึ้นมาใหม่ (Afforestation) หลังจากถูกตะกอนดินทรายทับถมมาเป็นเวลานาน และปลูกเสริมฟื้นฟูสภาพป่าที่มีการดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ปัจจุบัน สภาพป่าเริ่มฟื้นคืนสภาพ และต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น แต่บริเวณที่เป็นดินทรายจัดต้นไม้ ยังเจริญเติบโตได้ไม่ดี การปลูกฟื้นฟูป่าเป็นวิธีการที่ช่วยให้สภาพป่าฟื้นฟูสภาพได้ อย่างไรก็ตาม ต้องมีแนวทางในการฟื้นฟูให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวมทั้งต้องดำเนินการร่วมกับหลาย ๆ หน่วยงาน รวมถึง ภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องด้วย 3) การป้องกัน และอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้ในบริเวณลุ่มน้ำศึกษาบางส่วนเป็นพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งตามกฎหมายป่าไม้จะต้องเป็นพื้นที่สงวนไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ของชาติ แต่เนื่องจากการกำหนดแนวเขตพื้นที่ที่ อาจจะไม่ชัดเจน มีการขอใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้จากหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาเชิงการบริหารจัดการ อื่น ๆ จึงทำให้พื้นที่บริเวณนี้ไม่ได้รับการดูแลรักษา ส่งผลให้สภาพป่ามีความเสื่อมโทรมลง ดังนั้น กิจกรรมการ ป้องกัน การดูแลรักษา และการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ จึงควรมีการดำเนินการ และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น การมีหน่วยป้องกันรักษาป่า มีการตรวจตราพื้นที่เพื่อเฝ้าระวังปัญหาที่เกิดขึ้นต่อพื้นที่ป่า เป็นต้น และการให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน 4) การติดตามการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าไม้ เทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียม และภาพถ่ายทางอากาศ รวมทั้งการติดตาม การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศป่าไม้จากพื้นที่แปลงถาวร ทำให้ทราบถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ ประโยชน์ที่ดินในภาพรวมของทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา ส่วนการติดตามการเปลี่ยนแปลงในแปลงถาวร ทำให้ทราบ ถึงลักษณะทางนิเวศวิทยาของสังคมพืชที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านการเจริญเติบโต รวมทั้งการตรวจวัดข้อมูลด้าน อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่สามารถดำเนินการได้ในแปลงสำรวจ เช่น คุณสมบัติของดิน คุณสมบัติทางอุทกวิทยาของ ดิน การศึกษามวลชีวภาพของสังคมพืช เป็นต้น 5) ความร่วมมือในการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ การดำเนินการในการจัดการพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เป็นหน้าที่ รับผิดชอบหลักของกรมป่าไม้ อย่างไรก็ตาม หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยจัดการต้นน้ำ ภายใต้กรม อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หน่วยงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานของกรมชลประทาน หน่วยงานของกรมพัฒนาที่ดิน หน่วยงานในส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ เป็นต้น มีความสำคัญที่จะช่วยในเรื่องการ กำหนดขอบเขต และมาตรการการใช้ที่ดินในแต่ละพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งความร่วมมือกับภาคประชาชนผู้มี


แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above