Page 21

แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

17 ส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ จะทำให้การจัดการ และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมยิ่งขึ้น 2.7.2 การบริหารจัดการน้ำ และแหล่งน้ำ การบริหารจัดการน้ำ และแหล่งน้ำในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา เป็นความรับผิดชอบ ของกรมชลประทาน เนื่องจากในพื้นที่บริเวณนี้มีการจัดการระบบน้ำที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย (ระบบอ่าง พวง) โดยการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ จากพื้นที่ตอนบนไปเติมในอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ตอนล่าง ซึ่งปัญหาที่ เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือ สภาพที่อ่างเก็บน้ำต่าง ๆ เก็บกักน้ำได้น้อย จึงทำให้ปริมาณน้ำที่จะผันไปสู่อ่างเก็บน้ำ ต่าง ๆ มีปริมาณที่ลดลงไปด้วย ทำให้เกิดปัญหาปริมาณน้ำที่ลดน้อยลง และไม่เพียงพอในการรองรับกิจกรรม การพัฒนาต่าง ๆ การบริหารจัดการน้ำ และแหล่งน้ำจึงต้องพิจารณาดำเนินการให้เหมาะสมกับสภาพ ธรรมชาติ และความต้องการในการใช้ประโยชน์ ในช่วงที่มีปริมาณน้ำเก็บกักมากสามารถที่จะระบายน้ำไปเก็บ กักยังอ่างเก็บน้ำอื่น ๆ ได้ แต่หากปริมาณน้ำน้อยลง อาจมีการงดการปล่อยน้ำ หรือควบคุมการระบายน้ำอย่าง เหมาะสมเพื่อให้ประชาชนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำเหล่านั้นมีน้ำสำหรับใช้ประโยชน์ได้ด้วย แต่หากจำเป็นต้องมีการ การปล่อยน้ำโดยเฉพาะจากพื้นที่เขื่อนขนาดใหญ่ที่ปล่อยน้ำส่วนหนึ่งเข้ามาในพื้นที่ซึ่งต้องมีการปล่อยน้ำเพื่อ รักษาระบบนิเวศ และผลักดันน้ำเค็ม ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการ บริหารจัดการน้ำด้วย ดังนั้น นอกจากเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐโดยตรงแล้ว การมีส่วนร่วมกับประชาชน ในท้องถิ่นจะช่วยให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2.7.3 งานวิจัย 1) การวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นการใช้ข้อมูลในภาพรวมของ ทั้งพื้นที่ในระดับจังหวัด หรือระดับภาค ดังนั้น หากบริเวณพื้นที่ศึกษามีสถานีตรวจอากาศที่สามารถตรวจวัด ลักษณะอากาศ ได้แก่ ปริมาณฝน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็ว และทิศทางลม และการระเหยน้ำ จะ ทำให้ข้อมูลต่าง ๆ มีความละเอียดมากขึ้น ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น ทั้งนี้ เสนอให้มี สถานีตรวจอากาศในพื้นที่ครอบคลุมทั้งพื้นที่ตอนบน ตอนกลาง และตอนล่างของพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งเสนอแนะให้ ติดตั้งสถานีตรวจวัดอากาศในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร รวมทั้งปรับปรุงสถานีตรวจอากาศที่อยู่ ในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2) การติดตามการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าไม้จากการวิจัยซึ่งได้วางแปลงศึกษาทรัพยากร ป่าไม้แบบถาวรทั้งในพื้นที่ป่าบก และป่าชายเลนในบริเวณลุ่มน้ำศึกษา จำนวนรวมทั้งหมด 15 แปลง ซึ่ง สามารถวิเคราะห์ และอธิบายผลข้อมูลด้านนิเวศวิทยาของป่าไม้ เช่น อัตราการเจริญเติบโตของแต่ละชนิดป่า การเปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น และหาความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องได้ จะทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ภายใต้สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ได้ รวมทั้งพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพป่าไม้ เช่น สมบัติของดิน กระบวนการทางอุทกวิทยาต่าง ๆ เป็นต้น 3) การติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณ และคุณภาพน้ำ มีสถานีในการตรวจวัด ปริมาณน้ำ และตะกอนในแหล่งน้ำธรรมชาติ เพิ่มเติมจากการตรวจวัดระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งมีการ ติดตามตรวจวัดคุณภาพน้ำจากทั้งแหล่งน้ำธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำใช้อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทุก ช่วงฤดูกาลในรอบปี 4) การศึกษาเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณพื้นที่ศึกษา และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และผลต่อเนื่องถึงการเปลี่ยนแปลง ทรัพยากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above