18 5)งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในมิติทางเศรษฐกิจ และสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเด็นผลกระทบ และความต่อเนื่องถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การปรับตัว ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ กระบวนการมีส่วนร่วม และความร่วมมือ และข้อเสนอแนะในการจัดการ 6) การบูรณาการงานวิจัยต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ในทุกประเด็น เช่น การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผลกระทบทางอุทกวิทยา และคุณภาพ น้ำผิวดิน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศป่าไม้ และสัตว์ป่า การวิจัยด้าน ทัศนคติ การปรับตัว การมีส่วนร่วมในการจัดการ และความเข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น 2.7.4 การนำข้อเสนอแนะไปสู่การปฏิบัติ 1) การวางแผนการใช้ที่ดิน และการกำหนดมาตรการการใช้ที่ดิน โดยวัตถุประสงค์หลัก ของกิจกรรมนี้ต้องการจำแนกขอบเขตพื้นที่เพื่อกำหนดวิธีการจัดการอย่างเหมาะสม โดยจำแนกให้ชัดเจนว่า บริเวณใดที่เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ และบริเวณใดที่เป็นพื้นที่ที่สามารถพัฒนาได้ ทั้งนี้ เป็นหน้าที่ของ หน่วยงานภาครัฐที่ต้องชี้แจง ทำความเข้าใจ และแสดงขอบเขตพื้นที่ต่าง ๆ ให้ชัดเจนต่อประชาชนผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสีย และทำความตกลงร่วมกัน จากนั้นจึงกำหนดแนวทางในการพัฒนาร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ 2) แนวคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การพัฒนาบนพื้นฐาน ของวิธีปฏิบัติด้านการอนุรักษ์จะช่วยให้ทรัพยากรต่าง ๆ สามารถคงสภาพความยั่งยืนได้ รวมทั้งทำให้การ พัฒนาต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างเหมาะสม เช่น การป้องกันรักษาพื้นที่ป่าที่ยังหลงเหลืออยู่ การกำหนดขอบเขต การใช้ประโยชน์ที่ดิน การฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสื่อมโทรม กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น การประยุกต์วิธีการอนุรักษ์ตามทฤษฎีการพัฒนาต่าง ๆ เป็นต้น 3) กฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ภายใต้ความตกลงในเรื่องของการวางแผนการใช้ที่ดิน ที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย การบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นข้อกำหนดร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบเกิดขึ้น โดยจะต้องบังคับใช้กฎหมายต่างๆ อย่างเข้มงวด 4) การกำหนดนโยบายในการพัฒนา และการบริหารงานของหน่วยงานในท้องถิ่น โดยการ เสนอรูปแบบการพัฒนาต่าง ๆ ไปสู่ท้องถิ่นต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ และความ สอดคล้องกับวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของชุมชนในท้องถิ่น หน่วยงานส่วนท้องถิ่นจึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่ ช่วยให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม 5) ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงาน ในส่วนท้องถิ่นที่เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ และกำหนดนโยบาย และแนวทางในการพัฒนา ผู้ใช้ประโยชน์ และ ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาต่าง ๆ ต้องร่วมมือกันในการจัดการตั้งแต่ระดับพื้นที่ไปจนถึงระดับนโยบาย มี การบูรณาการการจัดการทั้งในเชิงพื้นที่ เชิงกิจกรรม เชิงทรัพยากร และเชิงเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน
แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above