Page 6

แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

2 5) ดร.ปิยพงษ์ ทองดีนอก อาจารย์/นักวิจัย ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์: 02-5790172 6) ดร.นฤมล แก้วจำปา อาจารย์/นักวิจัย ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์: 02-5790172 7) ดร.สุรชัย รัตนเสริมพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ อาคาร B ชั้น 6-7 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ โทรศัพท์081 7508895 8) นายภาคิน สุชาตานนท์ เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร 1281 ค่ายพระรามหก ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี76120 โทรศัพท์: 032-508352 1.3 งบประมาณ และระยะเวลาทำวิจัย ได้รับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2557 งบประมาณที่ได้รับ 2,859,000 บาท ระยะเวลาทำวิจัย ธันวาคม 2557 ถึง มิถุนายน 2559 รวมเวลาที่ทำวิจัยทั้งสิ้น 18 เดือน 2. สรุปโครงการวิจัย 2.1 ความสำคัญ และที่มาของปัญหา พื้นที่ด้านทิศตะวันตกของอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีเขาหนอกวัว เขาหุบสบู่ เขาพุหวาย เขาเสวยกะปิ เขาน้อย และเขาทอง เป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยตะแปด ลำห้วยใหญ่ และห้วยทราย และอุดม สมบูรณ์ไปด้วยป่าเบญจพรรณ หรือป่าผสมผลัดใบ ต่อมาชุมชนขยายตัวมากขึ้น เกิดการบุกรุกแผ้วถางป่า เพื่อ เป็นพื้นที่ทำกิน ทำให้ในระยะ 30 ปีก่อนการพัฒนา พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายจนเหลือพื้นที่เล็กน้อยอยู่บนยอดเขา ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล คุณภาพของดินเสื่อมโทรมกลายเป็นดินทราย และดินดาน ขาดความอุดมสมบูรณ์ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้มีพระราชดำริจัดตั้งศูนย์ศึกษาการ พัฒนาห้วยทรายขึ้น โดยจัดทำระบบป่าเปียกด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สูบน้ำขึ้นเขา และปล่อยให้ไหลบ่า ผิวดิน เพื่อความชุ่มชื้น และสร้างฝายกักเก็บน้ำไว้ตามร่องเขา ขุดสระเก็บกักน้ำในบริเวณเชิงเขาด้านล่าง นอกจากนี้ ยังทรงนำหญ้าแฝกมาปลูกในที่ดินที่แข็งเป็นดินดาน เพื่อปรับปรุงคุณภาพดินให้สามารถอุ้มน้ำ ปลูก ต้นไม้ และทำการเกษตรอย่างได้ผล เป็นผลให้พื้นที่บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ทั้งในแง่ของทรัพยากร


แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above