3 ป่าไม้ สัตว์ป่า และแหล่งน้ำ ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อความเป็นอยู่ของประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่จรด ชายฝั่งทะเล เมื่อผืนป่าห้วยทรายเริ่มฟื้นตัว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้สนอง พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมุ่งหวังให้พื้นที่ที่แห้งแล้งกลับฟื้นคืนสู่สภาพเดิม ด้วย การฟื้นฟูระบบนิเวศให้เชื่อมโยงกันทั้ง 3 ระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ คือ ระบบนิเวศป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ระบบนิเวศเกษตรกรรม และระบบนิเวศชายฝั่งทะเล ในปีพ.ศ.2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริให้ฟื้นฟูป่าชายเลน และพลิกฟื้นพื้นที่เสื่อมโทรมสู่ระบบนิเวศป่าชายเลน เพื่อเพิ่ม ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเล อีกทั้งได้มีการจัดทำแนวกันคลื่นเพื่อป้องกันการกัดเซาะพื้นที่ ชายฝั่งทะเล จากปีพ.ศ. 2526 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมุ่งมั่นที่จะพลิกฟื้นความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมเพื่อ เป็นแบบอย่างในการแก้ไขวิกฤตความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในพื้นที่บริเวณห้วยทราย และอุทยาน สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ยากจะหาพื้นที่ใดเสมอเหมือนได้กลายเป็นพื้นที่สาธิตควร แก่การเป็นแบบอย่างในการนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาที่ชาวโลกรวมทั้งคนไทยที่กำลังประสบภัยธรรมชาติอัน เนื่องมาจากสภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของ มนุษย์ ความหลากหลายทางชีวภาพ และภัยธรรมชาติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง แผ่นดินไหว และสึนามิ ซึ่ง ปรากฏอยู่ทั่วไปเป็นประจำ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งผลทั้งต่อสภาพ ธรรมชาติ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งผลกระทบ และความต่อเนื่องต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นเป็นปัญหาที่ยิ่งรุนแรง และส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมากขึ้น ทำให้เกิดแนวทางต่าง ๆ เพื่อที่จะฟื้นฟู พื้นที่เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น การศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศอย่างต่อเนื่อง จึงมี ความจำเป็นเร่งด่วนที่ควรดำเนินการ จึงเป็นที่มาของโครงการ “การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบ นิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และ พื้นที่ต่อเนื่อง” ซึ่งวางขอบเขตโครงการในพื้นที่ต้นน้ำ และบริเวณใกล้เคียงศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ รวมไปถึงพื้นที่เกษตรกรรม และชุมชนที่มีความสัมพันธ์กัน จนถึงบริเวณอุทยาน สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร เพื่อเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ รวมทั้งเป็นแหล่งการวิจัยในด้านต่าง ๆ อย่าง ต่อเนื่องเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับประชาชนทั่วไป และผู้ที่สนใจทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ และนำองค์ ความรู้ที่ได้ไปขยายผลในการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำอื่น ๆ รวมไปถึงเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาค ประชาชน สร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นแบบอย่างในการ พัฒนาพื้นที่อื่น อันเป็นการเทิดพระเกียรติผลงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติต่อไป แต่ในปัจจุบัน ปัญหาในการทำโครงการที่เกิดขึ้นคือ ยังขาดข้อมูลที่เป็นวิชาการทั้งในด้าน ดิน น้ำ ป่าไม้ อุตุนิยมวิทยา ซึ่งล้วนมีความเกี่ยวข้องกันเป็นระบบจากภูเขาถึงชายฝั่งทะเล อีกทั้งการที่ประชากรใน พื้นที่เพิ่มมากขึ้นทำให้สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้ทรัพยากรน้ำ สภาพป่าไม้เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคย เป็น จึงควรมีการเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาสถานภาพในปัจจุบัน แล้วนำมาใช้วางแผนการใช้ทรัพยากรในอนาคต บนพื้นฐานข้อมูลที่เป็นจริง ซึ่งแต่ละหน่วยงานที่ร่วมโครงการได้มีการศึกษาในแต่ละด้านตามความเชี่ยวชาญ โดยมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ศึกษาในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อคาดการณ์สภาพดินฟ้า อากาศที่จะมีผลกระทบต่อพื้นที่ในอนาคต มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทำการศึกษาในด้านผลกระทบทาง
แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above