4 สังคม และประชาชน กรมพัฒนาที่ดินทำการศึกษาในด้านดิน การจัดการทรัพยากรที่ดิน การฟื้นฟูปรับปรุง บำรุงดิน ดังนั้น อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาวิจัยในด้านทรัพยากรน้ำ และ ป่าไม้ซึ่งมีความสำคัญ และยังขาดข้อมูลวิชาการที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งจะต้องมีการเก็บข้อมูล จัดทำแปลงทดลอง ถาวรเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าไม้ ทำการวิเคราะห์ผลการศึกษาในด้านต่าง ๆ จัดทำแผนที่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน และเก็บข้อมูลจากพื้นที่โครงการพระราชดำริที่ได้มีการฟื้นฟูพัฒนาพื้นที่ทั้งในด้านน้ำ และป่าไม้ นอกจากนี้ ข้อมูลพื้นฐานทางอุตุนิยมวิทยาถือเป็นอีกหนึ่งด้านที่ยังขาดข้อมูล เพราะหลังจากการ วิเคราะห์ และคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว จำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลที่เป็นจริงในแต่ละปี เพื่อเปรียบเทียบกับการคาดการณ์ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในอนาคต อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรเล็งเห็นว่าในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ และอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรเป็นพื้นที่โครงการพระราชดำริที่มีการ ดำเนินงานมายาวนานสามารถเป็นแบบอย่างในการวิจัย และสร้างองค์ความรู้ในด้านการจัดการลุ่มน้ำ ซึ่งมี ความเกี่ยวข้องทั้งในด้านป่าไม้ ดิน น้ำ และแหล่งเก็บน้ำ น้ำบาดาล การเกษตร การใช้ประโยชน์ที่ดิน ชุมชน ป่าชายเลน ป่าชายหาด ชายฝั่ง สภาพอากาศ และอื่น ๆ ควรแก่การนำความรู้ที่ทรงคุณค่าเผยแพร่สู่ประชาชน ทั่วไปทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาในพื้นที่บริเวณอื่นต่อไป 2.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2.2.1 วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยรวม (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ) 1) เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพ และ สภาพภูมิอากาศ 2) เพื่อศึกษา และรวบรวมข้อมูลการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์พื้นที่แบบบูรณาการในบริเวณพื้นที่จากห้วยทรายถึงชายฝั่งทะเล และบริเวณ โดยรอบที่เกี่ยวข้อง 3) เพื่อนำผลไปศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระบบพื้นที่ลุ่มน้ำ ตลอดจนหาทางจัดการแก้ไข ปัญหาในพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป ร่วมกันจัดทำแผนแบบ บูรณาการในโอกาสต่อไป 2.2.2 วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย การศึกษาป่าไม้ และน้ำ(อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร) 1) เพื่อรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ป่าไม้และน้ำของลุ่มน้ำบางตราน้อยและลุ่มน้ำห้วยทราย เพื่อใช้ประกอบในการบูรณาการกับข้อมูลดินและสภาพภูมิอากาศต่อไป โดยการมีส่วนร่วมในการรับรู้และ แสดงความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ 2.3 ผลที่ได้รับจากงานวิจัย (Output) 2.3.1 ข้อมูลด้านทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรสัตว์ป่า อุทกวิทยาน้ำผิวดิน และคุณภาพน้ำผิวดินในบริเวณ พื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา 2.3.2 สถานการณ์ของทรัพยากรในระบบนิเวศลุ่มน้ำ การเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ และผลกระทบ ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 2.3.3 เสนอแนะแนวทางเพื่อกำหนดทิศทาง และรูปแบบในการบริหารจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above