91 (1) ปัญหาของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหาการบุกรุก พื้นที่ป่า ปัญหาไฟป่า ปัญหาด้านปริมาณน้ำ และคุณภาพน้ำผิวดิน ปัญหาด้านทรัพยากรดิน และความอุดม สมบูรณ์ของดิน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลการสำรวจ พบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำศึกษาลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำ ห้วยทราย มีพื้นที่ป่าไม้คิดเป็นร้อยละ 25.17 และ 34.03 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ (ข้อมูลปีพ.ศ.2558) โดยลดลงร้อย ละ 0.72 สำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.36 สำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยทราย (ข้อมูล เปรียบเทียบในปีพ.ศ.2552) ทั้งนี้ ถือว่าพื้นที่ป่าไม้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเดิมมาก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็น พื้นที่ภูเขา และมีสภาพของดินที่ไม่เหมาะในการทำการเกษตร พื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก และเปลี่ยนแปลงไปเป็น พื้นที่เกษตรจึงมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ป่าไม้ ได้แก่ ปัญหาจากไฟป่า ซึ่งเป็น ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่องทุกปี โดยมีสาเหตุจากกิจกรรมของมนุษย์ ประกอบกับสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนทำ ให้เกิดไฟป่าที่มีความรุนแรง และส่งผลต่อเนื่องถึงลักษณะทางนิเวศวิทยาของป่าไม้ แม้ว่า ในการเปรียบเทียบ กับผลการศึกษาที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ จะพบว่า สภาพของสังคมพืชในด้านชนิดพรรณจะไม่แตกต่างกัน แต่ในอนาคตหากเกิดสภาพปัญหาไฟป่าอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ลักษณะของสังคมพืชเปลี่ยนแปลงไปได้ ทั้งนี้ ในการศึกษาครั้งนี้ได้วางแปลงสำรวจแบบแปลงถาวรซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละสังคมพืช เพื่อวัตถุประสงค์ ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมพืช รวมทั้งพิจารณาเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการใช้ ประโยชน์ที่ดิน และสภาพภูมิอากาศ ปัญหาด้านปริมาณน้ำ และคุณภาพน้ำผิวดิน เมื่อพิจารณาจากข้อมูล ศักยภาพการให้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำ ข้อมูลปริมาณฝน และข้อมูลการเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำ พบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำ ศึกษาทั้งสองพื้นที่ มีศักยภาพในการให้น้ำที่มีแนวโน้มว่าจะไม่เพียงพอสำหรับความต้องการใช้ประโยชน์ สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำในอนาคต แม้ว่าในพื้นที่ทั้งสองแห่งจะมีระบบอ่างเก็บน้ำ และระบบ ชลประทานที่นำน้ำจากแหล่งอื่น ๆ เข้ามาสนับสนุนในพื้นที่ก็ตาม ทั้งนี้ เป็นผลต่อเนื่องที่เกิดจากการพัฒนา พื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว และพื้นที่อยู่อาศัยที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความ ต้องการใช้น้ำมีมากเกินศักยภาพการให้น้ำของระบบลุ่มน้ำ ส่วนการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพน้ำ ยังพบว่า คุณภาพส่วนใหญ่ยังไม่เกินค่ามาตรฐานซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ คุณภาพน้ำบางดัชนีที่เกินค่ามาตรฐาน เป็นผลมาจากการที่มีปริมาณน้ำลดน้อยลง ทำให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาด้านทรัพยากรดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมทั้งการ เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และสิ่งปกคลุมดิน ซึ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษามีแนวโน้มที่พื้นที่ป่าไม้ และ พื้นที่เกษตรกรรมจะลดลง และเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่เมือง และชุมชน และพื้นที่ใช้ประโยชน์รูปแบบอื่น ๆ มาก ขึ้น ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงสมบัติของดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว ดินในบริเวณนี้มีเนื้อดินเป็นดิน ทราย บางพื้นที่เป็นชั้นดินดาน ซึ่งทำให้ดินไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ในดินได้ นอกจากนั้น ปริมาณอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารที่สำคัญในดินมีปริมาณน้อย ดังนั้น จึงส่งผลถึงผลผลิตทางการเกษตร ทำให้เกษตรกรต้อง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือปรับเปลี่ยนอาชีพเป็นอย่างอื่น นอกจากนั้นแล้ว การที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ทำให้ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวมีการพัฒนากันอย่างแพร่หลาย ที่พักอาศัย และสถานที่รองรับการท่องเที่ยว ได้ ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นจำนวนมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รูปแบบการใช้ประโยชน์ ที่ดินเปลี่ยนแปลงไป และส่งผลต่อเนื่องไปถึงทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างอื่น ๆ ต่อไป การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เป็นสภาพการเปลี่ยนแปลงอีกด้านหนึ่งซึ่ง ปัจจุบันกำลังเป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไป สำหรับพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ซึ่งโดยปกติมีปริมาณฝนค่อนข้าง ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ รวมทั้งสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อน จึงส่งผลให้ทรัพยากรต่าง ๆ
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above