Page 104

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

92 เกิดการปรับเปลี่ยนสภาพไปตามลักษณะภูมิอากาศ นอกจากนั้น จากการวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลอง พบว่า ในอนาคตปริมาณฝนมีแนวโน้มลดต่ำลง ส่วนอุณหภูมิมีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อโครงสร้าง และการทำหน้าที่ของระบบนิเวศลุ่มน้ำ ควบคู่กับการเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดิน และสิ่งปกคลุมซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ (2) ปัญหาด้านการบริหารจัดการ การบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ เป็นประเด็นที่สำคัญ และจัดการได้ ยาก ทั้งนี้ ในการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ นั้น มีหน่วยงานที่รับผิดชอบเฉพาะแต่ละทรัพยากร ซึ่งการทำงานใน เชิงบูรณาการ หรือการประสานงานยังมีน้อย ต่างฝ่ายต่างรับผิดชอบในส่วนงานของหน่วยงานเอง และไม่ได้ พิจารณาการทำงานที่สอดคล้องกับหน่วยงานอื่น ๆ จึงทำให้การจัดการ หรือการแก้ไขปัญหาเป็นการจัดการ แบบแยกส่วนไม่ได้พิจารณาในภาพรวม รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ก็เน้นการทำงานเชิงพื้นที่ และภารกิจของ หน่วยงานมาก ไม่ได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทั้งหน่วยงานราชการอื่น ๆ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ จึงทำให้การจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ทำได้ยากขึ้น การทำ งานโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม และความร่วมมือ (Participation and collaboration) ของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ถือว่าเป็นแนวทาง ที่มีความสำคัญ และสามารถดำเนินการได้ ซึ่งต้องเริ่มจากความเข้าใจในประเด็นปัญหาต่าง ๆ จากนั้นต้องมี การเผยแพร่ และถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ไปสู่ภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง หรือมีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อที่จะ ได้เข้ามาร่วมในการวางแผนการจัดการร่วมกัน เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนของการจัดการทรัพยากรในระบบลุ่มน้ำ 2) สาเหตุของปัญหา สถานการณ์ของปัญหาต่าง ๆ ในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี สาเหตุของปัญหามีทั้งเกิดจากสภาพธรรมชาติ เช่น ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ธรณีโครงสร้าง เป็นต้น ซึ่งส่งผลถึงทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ป่าไม้ รวมไป ถึงสัตว์ป่าต่างๆ และสาเหตุที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้ทรัพยากรต่าง ๆ เสื่อมโทรมลง โดยเฉพาะ ผลต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และสิ่งปกคลุมดิน ส่งผลให้พืชพรรณ สัตว์ป่า ความหลากหลาย ของสิ่งมีชีวิต ทรัพยากรดิน น้ำ ภูมิอากาศ และการดำรงชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป 6.2.3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภายในระบบนิเวศของพื้นที่ลุ่มน้ำบางตรา น้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นจากสภาวะความกดดันด้านประชากร (Population pressure) ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และสิ่งปกคลุมดิน การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ และลักษณะทางเศรษฐกิจ และสังคม 1) การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และสิ่งปกคลุมดิน กิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความต้องการใช้ที่ดิน และการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการใช้ที่ดิน เป็นปัจจัยที่ส่งผลทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ในระบบนิเวศลุ่ม น้ำ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลมาจากความต้องการปัจจัยต่าง ๆ ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ อย่างไร ก็ตาม ต้องพิจารณาปัจจัยของที่ดินที่สามารถรองรับการพัฒนา (Land capability and land suitability) ควบคู่ไปด้วย 2) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ พิจารณาในหลากหลายด้านทั้งเป็นผล สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และสิ่งปกคลุมดิน และการปลดปล่อยก๊าซต่าง ๆ ออกไปสู่


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above