Page 114

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

102 ส่วนความชุกชุมจำแนกตามกลุ่มของสัตว์ป่า พบว่า นก มีความชุกชุมน้อย 10 ชนิด ชุกชุมปานกลาง 49 ชนิดและชุกชุมมาก 6 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทุกชนิดมีความชุกชุมน้อย สัตว์สะเทินน้ำ สะเทินบก มีความชุกชุมน้อย 3 ชนิด และอีก 3 ชนิด มีความชุกชุมปานกลาง ส่วน สัตว์เลื้อยคลาน มีความชุก ชุมน้อย 4 ชนิด และที่เหลืออีก 11 ชนิด มีความชุกชุมปานกลาง การพิจารณาสถานภาพของสัตว์ป่าแต่ละกลุ่ม พบว่า นก สถานภาพซึ่งกำหนดโดย IUCN พบว่า เกือบทั้งหมด (64 ชนิด) ถูกจัดสถานภาพอยู่ในกลุ่มชนิดที่เป็นที่กังวลน้อยที่สุด (Least concerned) มี1 ชนิด ได้รับการกำหนดสถานภาพเป็นชนิดใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) ส่วนการกำหนดสถานภาพโดย สำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พบว่า เกือบทั้งหมด (63 ชนิด) ยังไม่ได้รับ การกำหนดสถานภาพ โดยมี 1 ชนิด ที่ได้รับการกำหนดสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ และ 1 ชนิด ที่ได้รับการ กำหนดสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม ส่วนการกำหนดสถานภาพตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พบว่า นกส่วนใหญ่จำนวน 60 ชนิด ถูกกำหนดสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ในจำนวนนี้มี4 ชนิดที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ ส่วนที่เหลืออีก 5 ชนิด ยังไม่ได้รับการกำหนดสถานภาพ (สัตว์ป่านอกประเภท) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สถานภาพซึ่งกำหนดโดย IUCN พบว่า ทุกชนิดถูกจัดสถานภาพอยู่ ในกลุ่มชนิดที่เป็นที่กังวลน้อยที่สุด สำ หรับการกำ หนดสถานภาพโดยสำ นักงานนโยบาย และแผน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พบว่า ทุกชนิดยังไม่ได้รับการกำหนดสถานภาพ และการกำหนด สถานภาพตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พบว่า มีสัตว์ป่า 5 ชนิด ถูกกำหนดเป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง และที่เหลืออีก 5 ชนิด ยังไม่ได้รับการกำหนดสถานภาพ (สัตว์ป่านอกประเภท) สัตว์สะเทินน้ำ สะเทินบก สถานภาพซึ่งกำหนดโดย IUCN พบว่า ทุกชนิดถูกจัดสถานภาพอยู่ในกลุ่มชนิดที่เป็นที่กังวลน้อย ที่สุด ส่วนการกำหนดสถานภาพโดยสำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทุกชนิด ยังไม่ได้รับการกำหนดสถานภาพ และการกำหนดสถานภาพตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พบว่า 1 ชนิด ถูกกำหนดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ส่วนอีก 5 ชนิดยังไม่ได้รับการกำหนดสถานภาพ (สัตว์ป่านอกประเภท) ส่วนสัตว์เลื้อยคลาน สถานภาพซึ่งกำหนดโดย IUCN พบว่า ส่วนใหญ่9 ชนิด ยังไม่ได้ รับการกำหนดสถานภาพ โดยมี5 ชนิด ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มชนิดที่เป็นที่กังวลน้อยที่สุด และมี1 ชนิด ถูกจัดอยู่ ในกลุ่มชนิดที่เป็นที่ใกล้สูญพันธุ์ ส่วนการกำ หนดสถานภาพโดยสำ นักงานนโยบาย และแผน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สัตว์ป่าทุกชนิดยังไม่ได้รับการกำหนดสถานภาพ ส่วนการกำหนด สถานภาพตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พบชนิดที่ถูกจัดสถานภาพเป็นสัตว์ป่า คุ้มครอง 5 ชนิด ส่วนชนิดที่เหลืออีก 10 ชนิด ยังไม่ได้รับการกำหนดสถานภาพ (สัตว์ป่านอกประเภท) 7.1.3 ทรัพยากรน้ำ 1) ปริมาณน้ำ (1) ศักยภาพการให้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำบางตราน้อย มีปริมาณน้ำท่ารายปี9.69 ล้านลูกบาศก์ เมตร คิดเป็นความสูง 153.93 มิลลิเมตร และคิดเป็น 16.35 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำฝน โดยช่วงฤดูร้อน (Dry period) ระหว่างเดือนธันวาคมถึงเมษายน มีปริมาณน้ำ 1.09 ล้านลูกบาศก์เมตร และช่วงฤดูฝน (Wet period) ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน มีปริมาณน้ำ 8.60 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนลุ่มน้ำห้วยทราย ปริมาณน้ำท่ารายปี2.63 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นความสูง 134.80 มิลลิเมตร และคิดเป็น 14.32 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณน้ำฝน โดยช่วงฤดูร้อน มีปริมาณน้ำ 0.30 ล้านลูกบาศก์เมตร และช่วงฤดูฝน มีปริมาณน้ำ 2.33 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยรวมทั้ง 2 ลุ่มน้ำมีศักยภาพการให้น้ำท่าค่อนข้างต่ำ และมีสัดส่วนของน้ำท่าที่ไหลในฤดู ฝนสูงถึง 89% น้ำท่าที่ไหลในฤดูแล้งไม่ถึง 12% ของน้ำท่า ถือว่าไม่เหมาะสม


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above