101 ปรับปรุงสภาพของระบบนิเวศด้วย อย่างไรก็ตาม กลุ่มของต้นไม้ที่พบส่วนใหญ่เป็นไม้ที่มีขนาดไม่โตมาก และ พบเป็นหย่อมขนาดเล็ก สำหรับการวางแปลงสำรวจลักษณะทางนิเวศวิทยาป่าไม้ ทำการวางแปลงสำรวจ ชั่วคราวรวมทั้งหมด 25 แปลงสำรวจ และวางแปลงถาวรรวม 2 แปลง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมของทั้ง พื้นที่ พบว่า สภาพป่าค่อนข้างโปร่ง ต้นไม้ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กขึ้นอยู่เป็นหย่อม บางพื้นที่มีการปลูกฟื้นฟูซึ่งมี ทั้งการปลูกไม้ชนิดเดียว และการปลูกผสม สภาพสังคมพืชมีเรือนยอดปกคลุมของป่าประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ โครงสร้างด้านตั้งของสังคมพืชแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด ชั้นอินทรียวัตถุที่ปกคลุมผิวหน้าดิน ประมาณ 1 เซนติเมตร เมื่อพิจารณาด้านชนิด ความหนาแน่น และปริมาตรไม้ สำรวจพบไม้ใหญ่ยืนต้น 35 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 41 ต้นต่อไร่ ส่วนลูกไม้ หรือไม้หนุ่ม สำรวจพบ 34 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 2,010 ต้นต่อไร่ และกล้าไม้ สำรวจพบ 16 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 4,329 ต้นต่อไร่ รวมทั้งสำรวจพบไม้ไผ่ 2 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 14 ลำต่อไร่ ส่วนการวิเคราะห์ปริมาตรไม้ พบว่า มีปริมาตรไม้เฉลี่ย 6.3148 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่สภาพป่าค่อนข้างโปร่ง ต้นไม้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่โตมาก รวมทั้งต้นไม้ขนาดเล็กก็มีจำนวน ไม่มาก และการคำนวณดัชนีความหลากหลายในบริเวณพื้นที่ศึกษา พบว่า มีค่า Fisher‘s index of diversity () เท่ากับ 9.77 สภาพของป่าชายเลนบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร (สวนป่าชายเลน ทูลกระหม่อม) ซึ่งปลูกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โครงสร้างของป่าชายเลน จำแนกเป็น 2 ชั้นเรือนยอด โดยเรือน ยอดชั้นบน ความสูงตั้งแต่5 เมตร ขึ้นไป สำหรับการวางแปลงสำรวจลักษณะทางนิเวศวิทยาป่าไม้ ทำการวาง แปลงสำรวจชั่วคราวรวมทั้งหมด 5 แปลงสำรวจ และวางแปลงถาวรรวม 2 แปลง ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า สภาพป่าแบ่งออกเป็นสองสภาพอย่างชัดเจน คือ สภาพที่ต้นไม้มีขนาดค่อนข้างใหญ่ และขึ้นปกคลุม พื้นที่อย่างหนาแน่น ซึ่งพบบริเวณที่มีสภาพเป็นดินเลนมีน้ำท่วมขัง และสภาพที่ต้นไม้ยังมีขนาดเล็ก บริเวณนี้มี สภาพเป็นดินทราย และการท่วมถึงของน้ำไม่บ่อยครั้ง และยาวนานเหมือนสังคมแรก และเนื่องจากเป็นการ ปลูกฟื้นฟูป่าชายเลน ชนิดไม้ที่สำรวจพบจึงยังไม่หลากหลายมาก สภาพของป่าชายเลนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ โดยเป็นสังคมที่ต้นไม้ยังมีขนาดเล็ก พบในบริเวณที่ดินเป็นทราย และมีการท่วมขังของน้ำไม่บ่อยครั้ง และสังคมที่เป็นดินเลนติดกับทางน้ำ ซึ่งมีต้นไม้ขนาดใหญ่กว่า เมื่อพิจารณาด้านชนิด ความหนาแน่น และ ปริมาตรไม้ สำรวจพบไม้ใหญ่ยืนต้น 5 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 765 ต้นต่อไร่ ส่วนลูกไม้ และกล้าไม้ สำรวจพบทั้งหมด 3 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 80 และ 5,760 ต้นต่อไร่ ส่วนการวิเคราะห์ปริมาตรไม้ พบว่า มีปริมาตรไม้เฉลี่ย 12.7734 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ และการคำนวณดัชนีความหลากหลายในบริเวณพื้นที่ศึกษา พบว่า มีค่า Fisher‘s index of diversity () เท่ากับ 0.89 7.1.2 ทรัพยากรสัตว์ป่า การสำรวจทรัพยากรสัตว์ป่าในบริเวณพื้นที่ศึกษา ทำการสำรวจทั้งทางตรงโดยการ พบเห็นตัวสัตว์ตามจุดสำรวจที่กำหนดขึ้น ซึ่งจุดสำรวจสัตว์ป่าเป็นพื้นที่บริเวณเดียวกับการสำรวจทรัพยากรป่า ไม้ รวมทั้งพิจารณาตามสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย และใช้ประโยชน์ของสัตว์ป่า ทั้งพื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน้ำ และ ชุมชน นอกจากนั้น ยังสำรวจโดยการดักจับด้วยตาข่าย และกรงดักจับ ในบริเวณอุทยานฯ สิรินธร ทั้งนี้ ผล การสำรวจพบว่า ชนิดสัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่เป็นสัตว์ในกลุ่มนก ส่วนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก พบได้น้อย ชนิดสัตว์ป่าที่พบเป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้า กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดี โดยสำรวจพบสัตว์ป่าทั้งหมด 96 ชนิด 59 วงศ์25 อันดับ ประกอบด้วย นก สำรวจพบมากที่สุดจำนวน 65 ชนิด 37 วงศ์15 อันดับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สำรวจพบ 10 ชนิด 9 วงศ์6 อันดับ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สำรวจพบ 6 ชนิด 4 วงศ์1 อันดับ และสัตว์เลื้อยคลาน สำรวจพบ 15 ชนิด 9 วงศ์3 อันดับ
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above