Page 116

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

104 ผลการวิเคราะห์ พบว่า บริเวณจุดเก็บตัวอย่าง Outlet ลุ่มน้ำบางตรา น้อย มีสภาพเป็นแหล่งน้ำเค็ม จึงมีค่าความเค็ม ค่าความนำไฟฟ้า ปริมาณของแข็งแขวนลอยทั้งหมด และ ความกระด้างทั้งหมด สูงกว่าจุดเก็บตัวอย่างอื่น ๆ ส่วนดัชนีคุณภาพน้ำที่มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานในทุกจุดเก็บ ตัวอย่าง ได้แก่ ค่าความสกปรกในรูปบีโอดี ซึ่งบางจุดเก็บตัวอย่างมีค่าที่สูงมาก ทั้งนี้ แหล่งน้ำต่าง ๆ ที่เก็บ ตัวอย่างทั้งในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน มีปริมาณน้ำน้อยมาก หลายอ่างเก็บน้ำมีกิจกรรมการจับปลาโดยชาวบ้าน รวมทั้งมีการปล่อยปศุสัตว์ลงไปในแหล่งน้ำ ประกอบกับสภาพที่เป็นแหล่งน้ำปิด จึงทำให้คุณภาพน้ำบางดัชนี เกินค่ามาตรฐานโดยเฉพาะค่าความสกปรกในรูป BOD ทั้งนี้ ค่า BOD ที่มีค่าสูงนี้สอดคล้องกับค่าโคลิฟอร์ม แบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรียซึ่งมีค่าสูงขึ้น ก็แต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน รวมทั้งพบว่ามีค่าสูง ในช่วงการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนสำหรับช่วงฤดูฝน แต่ฝนตกน้อยทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ต่าง ๆ มีน้อยลง นอกจากนั้น ยังพบว่า ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 ค่าความเป็นกรด-ด่าง ของจุดเก็บตัวอย่าง บริเวณบ่อน้ำในอุทยานฯ สิรินธร และอ่างเก็บน้ำห้วยทราย มีความเป็นด่างเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับคุณภาพน้ำผิวดินในแหล่งน้ำต่าง ๆ ในระบบอ่างพวง บริเวณลุ่ม น้ำบางตราน้อย ลุ่มน้ำห้วยทราย และพื้นที่ใกล้เคียง พบว่า ดัชนีคุณภาพน้ำส่วนใหญ่ไม่เกินค่ามาตรฐาน คุณภาพน้ำผิวดิน ประเภทที่ 3 ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภค และบริโภคได้ โดยต้องมีการ ปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อน แต่ในทุกอ่างเก็บน้ำมีค่าความสกปรกในรูป BOD เกินค่ามาตรฐาน ซึ่งมีสาเหตุจาก กิจกรรมต่าง ๆ ในอ่างเก็บน้ำทั้งการทำการประมง และการเลี้ยงปศุสัตว์ ประกอบกับสภาพที่แหล่งน้ำมีน้ำ เหลือน้อยมากจึงทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมลง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามตำแหน่งที่ตั้งของอ่างเก็บน้ำ ต่าง ๆ พบว่า อ่างเก็บน้ำที่อยู่ทางตอนบนของพื้นที่ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยไทรงาม อ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตาย และ อ่างเก็บน้ำบ้านทุ่งขาม ค่า BOD มีค่าต่ำกว่าแหล่งน้ำที่อยู่ทางตอนล่างลงมา การศึกษาวิจัยด้านป่าไม้ และน้ำ ของอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิริน ธรครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยและพัฒนา การบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ : กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง โดยศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้ำ บางตราน้อย 64.10 ตร.กม. และลุ่มน้ำห้วยทราย 19.51 ตร.กม. รวม 2 พื้นที่ 83.61 ตร.กม. โดยในปี2558 พื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย มีพื้นที่การเกษตรกรรม 17.61 ตร.กม. ป่าไม้16.07 ตร.กม. ที่ชุมชน 21.55 ตร.กม. แหล่งน้ำ2.94 ตร.กม. และพื้นที่อื่นๆ 5.93 ไร่(รวมสนามกอล์ฟ) และพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยทรายมีพื้นที่เกษตรกรรม 4.66 ตร.กม. ป่าไม้6.64 ตร.กม. ชุมชน 6.05 ตร.กม. แหล่งน้ำ 0.99 ตร.กม. และอื่นๆ 1.18 ตร.กม. ปริมาณ น้ำฝนมีแนวโน้มลดลงเหลือเพียง 545.3 มม. ในปีพ.ศ.2556 ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้น ทำให้สภาพป่าประกอบด้วย พันธุ์ไม้ผลัดใบในฤดูแล้งเป็นส่วนใหญ่ เรือนยอดปกคลุม 40-50% ดินเป็นดินทรายลึก ทำให้น้ำซึมลงใต้ดินอย่าง รวดเร็ว บริเวณที่น้ำซึมซับยาก จะเป็นดินที่ยึดตัวแน่นและแข็งเป็นดาน (Hard Pan Compact Soil) ในปีที่ฝนตก น้อย น้ำในอ่างพวง 7 อ่าง ไม่สามารถแบ่งปันน้ำใช้ได้ทุกอ่าง ทำให้แห้งแล้งและขาดแคลนน้ำในพื้นที่สองลุ่มน้ำ คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม มีค่าฟอสเฟต และแบคทีเรียโคลิฟอร์มสูงเกินมาตรฐาน จากการพยากรณ์โดยใช้แบบจำลอง ภูมิอากาศโลก (Global Climate Models) พบว่า ช่วงปี พ.ศ. 2564-2573 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยเพียง 611.78 มม./ ปี(ในช่วงปี2528-2558 มีปริมาณน้ำฝน 900-1,100 มม.) และอุณหภูมิสูงขึ้น 0.82 oc ในขณะเดียวกันจำนวน ประชากรเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 3 เท่าตัวในปี2583 ของทั้งสองพื้นที่ลุ่มน้ำ ดังนั้นการตั้งรับปรับตัวกับ สถานการณ์ดังกล่าว จึงควรร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไปในการจัดทำแผนการจัดการลุ่มน้ำ แบบบูรณาการ ทั้งด้านการพัฒนาแหล่งน้ำให้มีศักยภาพในการเก็บน้ำและเพิ่มพื้นที่เก็บน้ำตามบ้านเรือนและ ชุมชนต่างๆ การบำบัดน้ำเสียนำกลับมาใช้ การปลูกเสริมป่าและพืชคลุมพื้นที่ต่างๆ การเกษตรใช้น้ำน้อย และ ลดการระเหยของน้ำ การเพิ่มปริมาณการเก็บกักน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเลเพื่อให้น้ำใต้ดินช่วยในการเจริญเติบโต


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above