Page 117

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

105 ของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน ตลอดจนปลูกเสริมป่าชายหาด และป่าในบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ให้สมบูรณ์หนาแน่นมากยิ่งขึ้น 7.2 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะ และแนวทางในด้านการบริหารจัดการ การปฏิบัติงานของหน่วยงาน รวมทั้ง แนวทางเพื่อการวิจัยที่จะอธิบายสภาพการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน เพื่อการบูรณาการจัดการลุ่มน้ำ มีแนวทางโดยสรุป ดังนี้ 7.2.1 การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ 1) วางแผนการใช้ที่ดิน และควบคุมการใช้ที่ดินให้ถูกต้องตามสมรรถนะที่ดิน ให้ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินที่ถูกต้องตามสมรรถนะที่ดินและชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2) การฟื้นฟูป่าไม้ในส่วนที่เป็นป่าเสื่อมโทรมและพื้นที่รกร้างต่างๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ ให้ถึง 40% ของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นภูเขา 3) การป้องกัน และอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ที่มีอยู่ไม่ให้ถูกไฟป่าหรือถูกเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์ อย่างอื่น 4) การติดตามการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าไม้จากแปลงถาวรที่วางไว้ของทุกชนิดป่า อย่างต่อเนื่อง 5) ขอความร่วมมือหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ในการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ และ พื้นที่ของอุทยานฯ 7.2.2 การบริหารจัดการน้ำ และแหล่งน้ำ 1) กรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการระบบอ่างเก็บน้ำ ในปัจจุบัน ควรขอความร่วมมือกับประชาชนในท้องถิ่นเพื่อช่วยให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ เปลี่ยนแปลงเส้นทางน้ำและช่วยดูแลรักษาทางน้ำ ไม่ทิ้งขยะ และเลี้ยงสัตว์ใกล้แหล่งน้ำ ตลอดจนให้ความรู้แก่ ประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และใช้น้ำอย่างประหยัด 2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันเพิ่มปริมาณน้ำท่าในฤดูแล้งให้สูงขึ้น โดยการ ทำฝายชะลอการไหลของน้ำตามลำน้ำที่ไหลจากภูเขาให้ไหลช้าลง 7.2.3 งานวิจัย ควรทำการวิจัยในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1) การวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยติดตั้งสถานีตรวจวัดอากาศ ในพื้นที่อุทยานฯ เนื่องจากในปัจจุบันต้องอาศัยข้อมูลจากหน่วยงานอื่นๆ 2) การติดตามการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าไม้ จากแปลงถาวร 15 แปลง ในป่า ชนิดต่าง ๆ ที่ได้ทำแปลงถาวรไว้แล้วต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 3 ปี 3) การติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณน้ำท่า และคุณภาพน้ำต่อเนื่องเช่นเดียวกัน 4) การศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณพื้นที่ศึกษาและ พื้นที่ใกล้เคียง 5) งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในมิติทางเศรษฐกิจ และสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 6) การบูรณาการงานวิจัยต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ครอบคลุมได้ในทุกประเด็น


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above