2 มนุษย์ ความหลากหลายทางชีวภาพ และภัยธรรมชาติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง แผ่นดินไหว และสึนามิ ซึ่ง ปรากฏอยู่ทั่วไปเป็นประจำ ดังนั้น การศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ควร ดำเนินการ จึงเป็นที่มาของโครงการ “การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง” ซึ่งวาง ขอบเขตโครงการในพื้นที่ต้นน้ำ และบริเวณใกล้เคียงศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ รวมไปถึงพื้นที่เกษตรกรรม และชุมชนที่มีความสัมพันธ์กัน จนถึงบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธร เพื่อเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ รวมทั้งเป็นแหล่งการวิจัยในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อ เพิ่มพูนความรู้ให้กับประชาชนทั่วไป และผู้ที่สนใจทั้งในระดับชาติและนานาชาติ และนำองค์ความรู้ที่ได้ไป ขยายผลในการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำอื่น ๆ รวมไปถึงเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน สร้าง เครือข่ายที่แข็งแกร่งในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นแบบอย่างในการพัฒนาพื้นที่อื่น อัน เป็นการเทิดพระเกียรติผลงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรม ราชกุมารี ทั้งในระดับชาติและนานาชาติต่อไป แต่ในปัจจุบัน ปัญหาในการทำโครงการที่เกิดขึ้นคือ ยังขาดข้อมูลที่เป็นวิชาการทั้งในด้าน ดิน น้ำ ป่า ไม้ อุตุนิยมวิทยา ซึ่งล้วนมีความเกี่ยวข้องกันเป็นระบบจากภูเขาถึงชายฝั่งทะเล อีกทั้งการที่ประชากรในพื้นที่ เพิ่มมากขึ้นทำให้สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้ทรัพยากรน้ำ สภาพป่าไม้เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเป็น จึง ควรมีการเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาสถานภาพในปัจจุบัน แล้วนำมาใช้วางแผนการใช้ทรัพยากรในอนาคต บนพื้น ฐานข้อมูลที่เป็นจริง ซึ่งแต่ละหน่วยงานที่ร่วมโครงการได้มีการศึกษาในแต่ละด้านตามความเชี่ยวชาญ โดย มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ศึกษาในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อคาดการณ์สภาพดินฟ้าอากาศที่ จะมีผลกระทบต่อพื้นที่ในอนาคต มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทำการศึกษาในด้านผลกระทบทางสังคม และ ประชาชน กรมพัฒนาที่ดินทำการศึกษาในด้านดิน การจัดการทรัพยากรที่ดิน การฟื้นฟูปรับปรุงบำรุงดิน ดังนั้น อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาวิจัยในด้านทรัพยากรน้ำ และป่าไม้ซึ่งมี ความสำคัญ และยังขาดข้อมูลวิชาการที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งจะต้องมีการเก็บข้อมูล จัดทำแปลงทดลองถาวรเพื่อ ติดตามการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าไม้ ทำการวิเคราะห์ผลการศึกษาในด้านต่าง ๆ จัดทำแผนที่การใช้ ประโยชน์ที่ดิน และเก็บข้อมูลจากพื้นที่โครงการพระราชดำริที่ได้มีการฟื้นฟูพัฒนาพื้นที่ทั้งในด้านน้ำ และป่า ไม้ นอกจากนี้ ข้อมูลพื้นฐานทางอุตุนิยมวิทยาถือเป็นอีกหนึ่งด้านที่ยังขาดข้อมูล เพราะหลังจากการวิเคราะห์ และคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว จำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลที่เป็นจริงในแต่ละปี เพื่อ เปรียบเทียบกับการคาดการณ์และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในอนาคต อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรเล็งเห็นว่าในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจาก พระราชดำริและอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรเป็นพื้นที่โครงการพระราชดำริที่มีการดำเนินงานมา ยาวนานสามารถเป็นแบบอย่างในการวิจัย และสร้างองค์ความรู้ในด้านการจัดการลุ่มน้ำ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องทั้ง ในด้านป่าไม้ ดิน น้ำ และแหล่งเก็บน้ำ น้ำบาดาล การเกษตร การใช้ประโยชน์ที่ดิน ชุมชน ป่าชายเลน ป่า ชายหาด ชายฝั่ง สภาพอากาศ และอื่น ๆ ควรแก่การนำความรู้ที่ทรงคุณค่าเผยแพร่สู่ประชาชนทั่วไปทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาในพื้นที่บริเวณอื่นต่อไป
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above