3 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2.1 วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยรวม (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ) 2.1.1 เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ความหลากหลายทางชีวภาพ และสภาพภูมิอากาศ 2.1.2 เพื่อศึกษา และรวบรวมข้อมูลการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์พื้นที่แบบบูรณาการในบริเวณพื้นที่จากห้วยทรายถึงชายฝั่งทะเล และบริเวณ โดยรอบที่เกี่ยวข้อง 2.1.3 เพื่อนำผลไปศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระบบพื้นที่ลุ่มน้ำ ตลอดจนหาทางจัดการแก้ไขปัญหา ในพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป ร่วมกันจัดทำแผนแบบบูรณา การในโอกาสต่อไป 2.2 วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย การศึกษาป่าไม้ และน้ำ(อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร) 2.2.1 เพื่อรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ป่าไม้และน้ำของลุ่มน้ำบางตราน้อยและลุ่มน้ำห้วยทราย เพื่อ ใช้ประกอบในการบูรณาการกับข้อมูลดินและสภาพภูมิอากาศต่อไป โดยการมีส่วนร่วมในการรับรู้และแสดง ความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ 3. การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 3.1 ระบบนิเวศลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำเป็นระบบนิเวศซึ่งพิจารณาถึงการจัดการทรัพยากร หรือโครงสร้างต่าง ๆ ภายในระบบ ลุ่มน้ำ เพื่อให้การทำหน้าที่ การให้บริการของระบบลุ่มน้ำ โดยเฉพาะด้านปริมาณ คุณภาพ และช่วงเวลาการ ไหลของน้ำ ที่เหมาะสม การป้องกันปัญหาของทรัพยากรต่าง ๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำ และควบคุมความสมดุลของ ระบบนิเวศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (เกษม, 2551; สามัคคี, 2535; วิชา, 2535) ทั้งนี้ องค์ประกอบ หรือโครงสร้าง ต่าง ๆ ในระบบนิเวศลุ่มน้ำ พิจารณาได้เป็น 3 ส่วน ประกอบด้วยทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ และ ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ สังคม และการใช้ประโยชน์ ซึ่งองค์ประกอบ หรือทรัพยากรต่าง ๆ เหล่านี้ ต่างก็ทำ หน้าที่ควบคุมซึ่งกัน และกัน เพื่อให้การทำหน้าที่ หรือการให้บริการของระบบนิเวศลุ่มน้ำไม่ว่าทั้งการให้ผลิต ต่าง ๆ การควบคุมกระบวนการ และปัจจัย การสนับสนุนซึ่งกัน และกัน การให้บริการในเชิงสังคม (Smith et al., 2006) สามารถให้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน การจัดการลุ่มน้ำมีแนวคิดที่สำคัญ คือ การกำหนดพื้นที่เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่าง ยั่งยืน โดยใช้หลักการทางอนุรักษ์วิทยา ซึ่งในการจัดการลุ่มน้ำต้องมีการแบ่งเขตการจัดการโดยการกำหนดเขต การใช้ที่ดิน และกำหนดมาตรการ หรือแนวทางในการใช้ที่ดินให้มีความเหมาะสม ทั้งนี้ ทรัพยากรลุ่มน้ำแต่ละ ชนิดต่างก็มีลักษณะ หรือสมบัติที่แตกต่างกันไป การใช้ประโยชน์ทรัพยากรต่าง ๆ ย่อมส่งผลต่อการ เปลี่ยนแปลงทรัพยากรอย่างอื่น ๆ รวมทั้งส่งผลต่อการทำหน้าที่ของทั้งระบบลุ่มน้ำด้วยช่วยกัน ดังนั้น ในการ จัดการลุ่มน้ำเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และมีประสิทธิภาพนั้น ต้องเข้าใจทั้งในส่วนขององค์ประกอบ และการทำ หน้าที่ของลุ่มน้ำ มีการป้องกันการใช้ทรัพยากร หรือองค์ประกอบเหล่านั้นที่ผิดตามหลักวิชาการ ต้องระวัง ความผิดปกติทั้งในระหว่างการใช้ และให้เกิดการฟื้นตัว การตั้งตัว การฟื้นฟู สิ่งที่เสื่อมโทรมให้ฟื้นคืนสภาพ รวมทั้งต้องทำนุบำรุงให้อยู่ในสภาพที่ดีตลอดไป (เกษม, 2551) บทบาทที่สำคัญของระบบนิเวศลุ่มน้ำ พิจารณาถึงการให้น้ำ และการควบคุมการพังทลาย ของดินในลุ่มน้ำที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรในลุ่มน้ำ ทั้งนี้ นักจัดการลุ่มน้ำให้ความสำคัญกับทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบลุ่มน้ำ โดยเฉพาะทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ และมนุษย์ โดยถือว่าเป็นแหล่งเก็บกักน้ำที่สำคัญ และป่าไม้
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above