Page 20

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

8 ส่วนความหลากหลายของพรรณไม้ในป่าเต็งรังที่ทำการสำรวจบริเวณอ่างเก็บน้ำ ห้วยทราย พบเฟิร์น 1 วงศ์1 สกุล 1 ชนิด และพืชดอก 40 วงศ์75 สกุล 84 ชนิด 5) ป่าเบญจพรรณ (Mixed deciduous forest) พบการกระจายตั้งแต่ในพื้นที่ราบ จนถึงบริเวณที่เป็นภูเขา ซึ่งขึ้นปะปนกับป่าเต็งรังในบริเวณสันเขา และยอดเขา โดยพบตั้งแต่บริเวณที่มีความ สูง 50 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป ตั้งแต่บริเวณริมห้วยจนถึงยอดเขา โดยพบไผ่ซางนวล และไผ่ ไร่ ขึ้นปะปนอยู่ ซึ่งสภาพปัญหาของป่าเบญจพรรณเป็นปัญหาเดียวกับป่าเต็งรัง คือ ปัญหาไฟป่า และ นอกจากนั้น ในพื้นที่ป่าเบญจพรรณ ซึ่งดินจะลึกกว่าดินในป่าเต็งรัง ทำให้หลายพื้นที่ได้ถูกบุกรุกแผ้วถางเพื่อ ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร โครงสร้างของป่าจำแนกเป็น 3 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้นบน ความสูงมากกว่า 20 เมตร ชนิดไม้ที่พบ เช่น ประดู่ แดง ขี้อ้าย ตะแบกเปลือกบาง กระบก เป็นต้น เรือนยอดชั้นรอง ความสูง ระหว่าง 15-20 เมตร ชนิดไม้ที่พบ เช่น ฉนวน กระพี้ ถ่านไฟผี กาสามปีก งิ้วป่า ส้มกบ เป็นต้น ส่วนเรือนยอด ชั้นล่าง ความสูงน้อยกว่า 10 เมตร ชนิดไม้ที่พบ เช่น ติ้วขน เหมือดจี้ อีแปะ คำมอกหลวง เปล้าหลวง เป็นต้น และเมื่อพิจารณาชนิดไม้เด่น พบว่า ไม้เด่น คือ อ้อยช้าง ตะแบกเลือด มะค่าแต้ อีแปะ ประดู่ แดง รัง ตะแบก เปลือกบาง งิ้วป่า มะเกลือ ตามลำดับ 3.5.3 สถานภาพของพืช การจำแนกสถานภาพของพืช พบว่า มีชนิดพืชที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ 1 ชนิด คือ ปรงเหลี่ยม ส่วนชนิดพืชหายาก ได้แก่ ทองพันดุล จิกทะเล และกฤษณา 3.5.4 พื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ การตรวจสอบขอบเขตพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในบริเวณพื้นที่ศึกษา พบว่า พื้นที่บริเวณเขาช่องม่วง เขาหุบสบู่ เขาเจดีย์ เขาพระรอกหนอกวัว และเขาเล็ก ๆ อยู่ในขอบเขตพื้นที่ป่าสงวน แห่งชาติป่าชะอำ-บ้านโรง ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ส่วนบริเวณเขาสามพระยา อยู่ในขอบเขตพื้นที่ป่า สงวนหมายเลข 87 3.6 ทรัพยากรสัตว์ป่า 3.6.1 นก ในบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริในช่วงฤดูหนาวสำรวจพบนกทั้งหมด 103 ชนิด 34 วงศ์ 3.6.2 ปลา พบจำนวน 7 อันดับ 26 วงศ์50 สกุล 66 ชนิด 3.6.3 แมลง พบทั้งหมด 12 อันดับ (Order) จำนวนรวม 118 ชนิด เป็นกลุ่มของผีเสื้อกลางวัน (Butterflies) 43 ชนิด ผีเสื้อกลางคืน (Moths) 8 ชนิด ด้วงปีกแข็ง (Beetles) 12 ชนิด แมลงปอ (Dragonflies and Damselflies) 11 ชนิด กลุ่มตั๊กแตน (Grasshoppers) 7 ชนิด ตั๊กแตนตำข้าว (Mantis) 1 ชนิด ตั๊กแตนกิ่งไม้(Stick insects) 1 ชนิด กลุ่มจั๊กกะจั่น และมวน (Cicada and bug) 16 ชนิด กลุ่มผึ้ง ต่อ แตน (Bees, wasp, and ants) 11 ชนิด แมลงวัน (Flies) 5 ชนิด ปลวก (Termites) 1 ชนิด แมลงช้าง (Antlions) 1 ชนิด และแมลงปั่นใย (Web-spinner) 1 ชนิด ผลการสำรวจสัตว์ป่าตามจุดสำรวจที่กำหนด รวมทั้งการดักจับสัตว์ป่าในพื้นที่ศึกษาบริเวณ อุทยานฯ สิรินธร บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยทราย (เขาเตาปูน เขาบ่อขิง เขาน้อย เขาทอง) และอ่างเก็บน้ำห้วยตะ แปด (เขาเสวยกะปิ) จากเอกสารการศึกษาด้านโครงสร้างป่า และองค์ประกอบของพรรณพืชที่ทำการศึกษาใน พื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ใกล้เคียง ที่ดำเนินการโดยคณะวนศาสตร์ ในช่วงปีพ.ศ. 2550-51 (คณะวนศาสตร์, 2551) ซึ่งการสำรวจสัตว์ป่า พบรวมทั้งหมด 178 ชนิด 72 วงศ์25 อันดับ โดยเป็น


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above