Page 19

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

7 สังคมพืชที่ขึ้นได้ดีในบริเวณที่เป็นดินทราย ทางอุทยานฯ ได้ปรับปรุง ฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนโดยการขุดลอก และป้องกันตะกอนทรายที่จะเข้ามาทับถมในพื้นที่ป่าชายเลน รวมทั้งทำการปลูกป่าชายเลนเพื่อให้เกิดการ ฟื้นฟูตามสภาพธรรมชาติได้ดีขึ้น ซึ่งพรรณไม้ที่นำมาปลูก ได้แก่ จาก โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก และแสม ทะเล ปัจจุบัน สภาพป่าชายเลนที่ปลูกมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2537 ได้เจริญเติบโต รวมทั้งมีการ ฟื้นคืนสภาพขึ้นโดยมีพรรณไม้หลายชนิดที่เติบโตทดแทนขึ้นมาในพื้นที่ป่า จากข้อมูลการสำรวจ พบว่า โครงสร้างของป่าชายเลน จำแนกเป็น 2 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้นบน ความสูงตั้งแต่5 เมตร ขึ้นไป ชนิด ไม้เด่น ได้แก่ โกงกางใบเล็ก และโกงกางใบใหญ่ ส่วนเรือนยอดชั้นล่าง ความสูงน้อยกว่า 5 เมตร ชนิดไม้ที่พบ เช่น โพทะเล ฝาดขาว เป็นต้น สำหรับพรรณไม้ดัชนีที่สำคัญภายหลังจากการปลูกฟื้นฟูป่าชายเลน ได้แก่ แสม ทะเล โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ฝาดขาว และโพทะเล ทั้งนี้ จากการศึกษาการกระจายของพรรณไม้ตาม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง (Diameter at breast height; dbh) ของต้นไม้ที่ปลูกในพื้นที่ป่าชายเลน พบว่า ส่วน ใหญ่มีขนาดความโต (dbh) อยู่ในช่วงความโต 2.5-5.0 เซนติเมตร นอกจากนั้น ในรายงานการศึกษาได้เสนอข้อมูลความหลากหลายของพรรณไม้ใน พื้นที่ป่าชายเลน โดยสำรวจพบเฟิร์น 1 วงศ์1 สกุล 1 ชนิด และพืชดอก 24 วงศ์48 สกุล 53 ชนิด 2) ป่าชายหาด (Beach forest) บริเวณอุทยานฯ สิรินธร มีหลายพื้นที่ที่เป็นดิน ทรายจัด พืชหลายชนิดจึงต้องปรับสภาพเพื่อให้เจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่เป็นทรายจัด ทำให้พบสังคมป่า ชายหาดกระจายอยู่ทั่วไป จากการสำรวจ พบพรรณไม้ดัชนีที่สำคัญน้อยมาก เช่น สนทะเล สะเดา สน ประดิพัทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ จำแนกโครงสร้างของสังคมพืชออกเป็น 2 ชั้นเรือนยอด คือ เรือนยอดชั้นบน ความสูง มากกว่า 20 เมตร โดยสนทะเลเป็นชนิดไม้เด่น และเรือนยอดชั้นล่าง ความสูงน้อยกว่า 15 เมตร ซึ่งชนิดไม้ เด่น คือ สะเดา และโพทะเล ส่วนความหลากหลายของพรรณไม้ พบพืชดอก 36 วงศ์92 สกุล 99 ชนิด 3) ป่าฟื้นฟูป่ารุ่นสอง (Secondary forest) เป็นสภาพที่เกิดขึ้นจากการนำต้นไม้หลาย ชนิดเข้ามาปลูกในพื้นที่ของอุทยานฯ รวมทั้งการฟื้นคืนสภาพตามธรรมชาติของสังคมพืช โดยมีลักษณะเป็น กลุ่มของไม้ยืนต้นที่ขึ้นกระจายอยู่ในทั่วไปในพื้นที่อุทยานฯ สำหรับชนิดพรรณไม้ที่นำเข้ามาปลูก เช่น นนทรี กระถินณรงค์ ขี้เหล็ก สะเดา มะขามเทศ มะพลับ ขันทองพยาบาท โมกมัน มะกอกป่า มะค่าแต้ ข่อย สะแก นา ตีนเป็ด เป็นต้น 4) ป่าเต็งรัง (Dry Dipterocarp forest) เป็นสภาพป่าที่พบเป็นส่วนใหญ่ในบริเวณ พื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ โดยพบกระจายตั้งแต่ระดับพื้นราบจนถึงบริเวณยอดเขา ทั้งใน สภาพที่เป็นดินทรายจัดจนถึงบริเวณยอดเขาที่เป็นหิน และมีดินตื้น ในพื้นที่ระดับความสูงตั้งแต่50-230 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บางพื้นที่พบไผ่เพ็ก และหญ้าชนิดต่าง ๆ ขึ้นปกคลุมพื้นที่ ส่วนปัญหาที่พบ ได้แก่ ปัญหาไฟป่า ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงฤดูร้อน โครงสร้างของป่า จำแนกเป็น 3 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้นบน ความสูงมากกว่า 15 เมตร ชนิดไม้เด่น เช่น เต็ง รัง พะยอม ยางเหียง รกฟ้า สมอไทย กระบก เป็นต้น เรือนยอดชั้นรอง ความ สูงระหว่าง 10-15 เมตร ชนิดไม้เด่น เช่น แครกฟ้า มะขามป้อม เหมือดโลด ตับเต่าต้น มะม่วงหัวแมงวัน เป็น ต้น ส่วนเรือนยอดชั้นล่าง ความสูงน้อยกว่า 5 เมตร ส่วนใหญ่เป็นพืชวงศ์หญ้า และไม้ล้มลุกวงศ์ถั่ว สำหรับ ชนิดไม้เด่นของป่าเต็งรังในบริเวณที่สำรวจ คือ รัง อ้อยช้าง ตะแบกเลือด แดง ช้างน้าว กาสามปีก ประดู่ ตามลำดับ ซึ่งกลุ่มของพรรณไม้เด่นมีความคล้ายคลึงกับสภาพของป่าเบญจพรรณ เนื่องจากสภาพป่าทั้งสอง สังคมนี้จะขึ้นปะปนกัน


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above