Page 26

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

14 4.3 การศึกษาทรัพยากรป่าไม้ พื้นที่โครงการวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มีรายละเอียดสำหรับการศึกษา และสำรวจ ทรัพยากรป่าไม้ ดังนี้ 4.3.1 สำรวจพื้นที่เบื้องต้น เพื่อศึกษาสภาพภูมิประเทศ ชนิดป่า สังคมพืช รวมถึงลักษณะการใช้ ประโยชน์ที่ดินในสภาพปัจจุบันบริเวณพื้นที่โครงการวิจัย โดยพิจารณาข้อมูลเชิงพื้นที่จากแหล่งต่าง ๆ เช่น แผนที่สภาพภูมิประเทศ ภาพถ่ายดาวเทียม หรือภาพถ่ายทางอากาศ เป็นต้น รวมทั้งข้อมูลจากระบบ สารสนเทศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจากการสำรวจพื้นที่เบื้องต้น เพื่อประกอบการวางแผนเก็บข้อมูล ภาคสนามต่อไป 4.3.2 การสำรวจทรัพยากรป่าไม้ วางแปลงสำรวจแบบแปลงชั่วคราว (Temporary plot) ให้กระจาย ครอบคลุมพื้นที่ป่าในพื้นที่ศึกษา และกระจายครอบคลุมตามชนิดป่า หรือสภาพสังคมพืชให้มากที่สุด โดยสำรวจไม่น้อย กว่า 2 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ป่า รวมทั้งวางแปลงตัวอย่างแบบถาวร (Permanent plot) ตามสภาพสังคมพืชที่ปรากฏใน พื้นที่ศึกษา เพื่อเป็นตัวแทนของระบบนิเวศในบริเวณพื้นที่ศึกษา และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1) การวางแปลงสำรวจแจงนับทรัพยากรป่าไม้(Forest inventory) วางแปลงสำรวจ ชั่วคราวแบบวงกลมซ้อนกันสามวง (Concentric sample plot) อ้างอิงตามเอกสารของสถิตย์(2525) ดัง แสดงในภาพที่ 3 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (1) แปลงวงกลมขนาดรัศมี17.85 เมตร (พื้นที่ 1,000 ตารางเมตร หรือ 0.1 เฮกตาร์) ศึกษาข้อมูลของไม้ใหญ่ยืนต้น (Trees) ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับความสูง เพียงอก หรือขนาดความโต (Diameter at breast height, dbh ที่ระดับความสูง 1.30 เมตร) ตั้งแต่ 10 เซนติเมตร ขึ้นไป รวมทั้งศึกษาข้อมูลของไม้ไผ่ ปาล์ม หวาย และไม้พื้นล่างอื่น ๆ (2) แปลงวงกลมขนาดรัศมี12.62 เมตร (พื้นที่ 500 ตารางเมตร หรือ 0.05 เฮกตาร์) ศึกษาข้อมูลลูกไม้ หรือไม้หนุ่ม (Saplings/polings) ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีความสูงมากกว่า 1.30 เมตรขึ้น ไป และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับความสูงเพียงอก 4-10 เซนติเมตร (3) แปลงวงกลมขนาดรัศมี5.64 เมตร (พื้นที่ 100 ตารางเมตร หรือ 0.01 เฮกตาร์) ศึกษาข้อมูลกล้าไม้(Seedlings) ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีความสูงน้อยกว่า 1.30 เมตร 2) การเก็บรวบรวมข้อมูลด้านนิเวศวิทยาป่าไม้ในแต่ละแปลงสำรวจแจงนับทรัพยากรป่าไม้ มีรายละเอียด ดังนี้ (1) แปลงวงกลมขนาดรัศมี17.85 เมตร บันทึกข้อมูลชนิดไม้(Species) ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับความสูงเพียงอก ความสูงทั้งหมดของไม้ใหญ่ยืนต้น และความสูงของต้นไม้ที่สามารถ ทำเป็นสินค้าได้(Total and merchantable height) คุณภาพของท่อนไม้(Timber quality, TQ) และ จำนวนท่อนไม้ที่ใช้เป็นสินค้าได้(Number of log) โดยกำหนดความยาวไม้ท่อนท่อนละ 5 เมตร ซึ่งแปลง ศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะนิเวศวิทยาของไม้ใหญ่ยืนต้นในพื้นที่ ได้แก่ ชนิดไม้ ความหนาแน่น และปริมาตรไม้ นอกจากนี้ ยังทำการศึกษาข้อมูลของไม้ไผ่ และไม้พื้นล่างอื่น ๆ ที่พบในแปลงศึกษาด้วย (2) แปลงวงกลมขนาดรัศมี12.62 เมตร บันทึกชนิด จำนวน และความสูง เฉลี่ยของลูกไม้ หรือไม้หนุ่ม เพื่อนำมาใช้ในการคำนวณหาความหนาแน่น สำหรับประเมินสถานภาพทาง นิเวศวิทยาป่าไม้ในด้านชนิดไม้ ความหนาแน่นของลูกไม้ และโอกาสในการทดแทนตามธรรมชาติของสังคมพืช เป็นไม้ใหญ่ต่อไป


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above