Page 29

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

17 (2) ความหนาแน่นของไม้ใหญ่ ลูกไม้ และกล้าไม้ ของแต่ละชนิดป่า (3) ปริมาตรไม้ โดยประมาณค่าจากตารางปริมาตรไม้(Standard volume table) โดยใช้จำนวนท่อน (Log) ยาว 5 เมตร และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกของต้นไม้แต่ละต้น รวมทั้งใช้สูตร ปริมาตรในการคำนวณ (4) ข้อมูลด้านนิเวศวิทยาของสภาพสังคมพืช (5) ประเมินสถานภาพปัจจุบัน สภาพปัญหา และผลกระทบของทรัพยากร ป่าไม้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อทรัพยากรป่าไม้ และลักษณะนิเวศวิทยาที่เกี่ยวข้อง (6) เสนอแนะมาตรการ หรือแนวทาง สำหรับการพัฒนาโครงการ รวมทั้งการป้องกัน ผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพยากรป่าไม้จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4.4 ทรัพยากรน้ำ สำหรับรายละเอียดวิธีการศึกษาทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำบริเวณพื้นที่โครงการวิจัย มีวิธีการ สำรวจ และรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 4.4.1 ค้นคว้าเอกสารเกี่ยวกับการศึกษาด้านปริมาณ และคุณภาพน้ำผิวดินในพื้นที่โครงการฯ ที่หน่วยงานอื่น ๆ ได้ศึกษา และรายงานผลไว้ 4.4.2 ศึกษาพื้นที่เบื้องต้น เพื่อวางแผนการเก็บข้อมูล และกำหนดจุดเก็บตัวอย่างน้ำ (ภาพที่ 4) ในบริเวณพื้นที่ศึกษา 4.4.3 เก็บตัวอย่างน้ำเพื่อศึกษาคุณภาพน้ำ ตามวิธีการของ APHA, AWWA, WEF (2012) บริเวณอ่างเก็บน้ำทั้ง 7 อ่างภายในพื้นที่ศึกษา ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำห้วยไทรงาม ห้วยไม้ตาย ทุ่งขาม ห้วยตะ แปด ห้วยทราย ห้วยทรายหุบกะพง และบ่อพักน้ำเขากระปุก ตลอดจนบริเวณลำน้ำก่อนไหลลงอ่าง และบริเวณ ลำน้ำท้ายอ่างเก็บน้ำแต่ละอ่าง และแหล่งน้ำธรรมชาติอื่น ๆ ในพื้นที่โครงการ (หากมีปริมาณน้ำเพียงพอ) จำนวน 2 ครั้ง เป็นตัวแทนคุณภาพน้ำในช่วงฤดูแล้ง (เมษายน 2558) และช่วงฤดูฝน (สิงหาคม 2558) 4.4.4 ดัชนีคุณภาพน้ำที่ทำการศึกษา อ้างอิงตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน โดยกำหนด ทั้งหมด 16 ดัชนี ได้แก่ อุณหภูมิ ความโปร่งแสง ความขุ่น ความนำไฟฟ้า ความเค็ม ออกซิเจนละลายน้ำ ความ เป็นกรด-ด่าง ค่าความสกปรกในรูปบีโอดี ปริมาณของแข็งแขวนลอย ปริมาณของแข็งละลายน้ำ ความกระด้าง ทั้งหมด ไขมันและน้ำมัน ไนเตรต ฟอสเฟต โคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 4.4.5 วิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำในแต่ละจุดเก็บตัวอย่างกับเกณฑ์ มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน และความสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์น้ำในพื้นที่ 4.4.6 ประเมินความเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำตามกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่โครงการกับ ปริมาณที่กักเก็บในอ่างเก็บน้ำ 4.4.7 เสนอแนะแนวทาง หรือมาตรการในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำในพื้นที่ โครงการ


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above