Page 28

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

16 อนึ่ง ในการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของแปลง กำหนดโดยใช้เครื่องกำหนดตำแหน่งด้วยดาวเทียม (GPS) ที่มุม แปลงด้านฐาน 2 มุม และจากข้อมูลที่ได้จะนำไปจำลองลักษณะโครงสร้างด้านตั้ง (Profile diagram) และการ ปกคลุมของเรือนยอด (Plot plan of crown cover) โดยมีรายละเอียดในการจัดทำ ดังนี้ (1) โครงสร้างด้านตั้งของสังคมพืช บันทึกข้อมูลการสำรวจต้นไม้ในภาคสนามของ ทุกแปลงลงในคอมพิวเตอร์(โปรแกรม Excel) โดยบันทึกในระบบพิกัด (X-Y) โดยเรียงลำดับจากน้อยไปหา มากตามค่าแกน Y (ความกว้างของแปลง) จากนั้นทำการ plot พิกัดของต้นไม้โดยเรียงลำดับจากน้อยไปหา มาก ถ้าปรากฏว่าต้นไม้ต้นใดมีส่วนที่ซ้อนทับกับต้นที่ plot ลงไปก่อน ต้องแสดงด้วยเส้นประ จากนั้น sketch ภาพต้นไม้ให้มีสัดส่วนตามความสูงทั้งหมด ความสูงถึงกิ่งแรก ความกว้างของเรือนยอด ขนาดความโต และ ขนาด และทิศทางของเรือนยอด รวมทั้งแสดงข้อมูลที่มีลักษณะพิเศษของต้นไม้ที่ได้บันทึกไว้ เช่น พูพอน สอง นาง (กิ่ง หรือต้น) ลำต้นเอน ยอดหัก เป็นต้น โครงสร้างด้านตั้งนี้จะมีความสัมพันธ์กับแผนผังของแปลงที่เป็น มุมมองด้านบน (การปกคลุมของเรือนยอด) ดังนั้น ขนาด และมาตราส่วนที่กำหนดควรมีความเหมาะสม (2) ผังแสดงการปกคลุมของเรือนยอด นำข้อมูลที่ได้บันทึกลงในคอมพิวเตอร์ โดย เรียงลำดับตามพิกัดจากน้อยไปหามาก (เช่นเดียวกับการทำ Profile diagram) และขนาดความสูงของต้นไม้ โดย plot ต้นไม้ที่มีพิกัดน้อย และมีความสูงที่สุดลงไปก่อน เพื่อกำหนดขนาดของเรือนยอดของต้นที่สูงที่สุด ก่อน จากนั้นจึงนำค่าความกว้างของเรือนยอดต้นอื่น ๆ มา plot ลงโดยให้มีตำแหน่งสัมพันธ์กับต้นไม้ที่แสดง โครงสร้างทางด้านตั้ง (Profile diagram) ขนาดของเรือนยอดต้องพิจารณาให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสมตามระยะ ในทิศทางหลัก (เหนือ-ใต้, ตะวันออก-ตะวันตก) รวมทั้งพิจารณาประกอบกับข้อมูลอื่น ๆ ที่ระบุไว้ เช่น การ เบนของเรือนยอดจากจุดกึ่งกลางของลำต้น เป็นต้น อนึ่ง ในการสำรวจของแต่ละแปลงตัวอย่าง ต้องระบุลักษณะทางภูมิศาสตร์กายภาพ ของพื้นที่แปลงตัวอย่าง (Site description) ทุกแปลงโดยละเอียด เช่น พิกัด ความลาดเอียง ความสูง เป็นต้น รวมทั้งแสดงที่ตั้งของแปลงตัวอย่างลงในแผนที่ โดยในแปลงตัวอย่างทุกแปลงจะทำการหมายขอบเขตเพื่อ แสดงพื้นที่ศึกษาให้ชัดเจน ส่วนการรวบรวมข้อมูล ทำ การบันทึกรายละเอียด และข้อมูลต่าง ๆ เพื่อ ประกอบการอธิบายลักษณะทางนิเวศวิทยาป่าไม้ลงในตารางบันทึกข้อมูลการสำรวจ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับ สภาพป่าไม้ สภาพพื้นที่ ตำแหน่งที่ตั้ง การใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land use) ชนิดป่า (Forest type) รวมทั้ง ลักษณะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องถึงลักษณะทางนิเวศวิทยาของป่า พร้อมทั้งการกำหนดจุดพิกัดบริเวณที่ทำการสำรวจ และถ่ายภาพสภาพสังคมพืชประกอบด้วย ซึ่งในการสำรวจกำหนดให้มีแปลงตัวอย่างของแต่ละสังคมพืชอย่าง น้อยสังคมละ 1 แปลงตัวอย่าง 4) การวิเคราะห์ข้อมูล จากข้อมูลที่รวบรวมจากการสำรวจภาคสนามนำมาวิเคราะห์ลักษณะ ทางนิเวศวิทยาป่าไม้ ดังนี้ (1) ความหลากหลายชนิด (Species diversity) วิเคราะห์โดยใช้Fisher’s index of diversity () โดย Fisher และคณะ (1943) ดังนี้ S =  loge (1+N/) เมื่อ S = จำนวนชนิดพรรณไม้ในแปลงตัวอย่าง N = จำนวนต้นไม้ทั้งหมดในแปลงตัวอย่าง  = Fisher’s index of diversity


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above