Page 34

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

22 เป็นดินทรายปนร่วน มีอินทรียวัตถุน้อยความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เหมาะแก่การทำนา ส่วนในบริเวณน้ำเค็มท่วมถึงเป็น ดินชุดสมุทรปราการ (Sm) เป็นป่าชายเลน และป่าไมยราพยักษ์ พื้นที่ราบที่ถัดเข้ามามีความลาดชัน 1-5% เป็น พื้นที่การเกษตร และอยู่อาศัย จะเป็นดินชุดหุบกะพง (Hg) เป็นส่วนใหญ่ เกิดจากตะกอนพัดพาจากบนลงล่าง ระบายน้ำดี น้ำซึมผ่านได้เร็ว เหมาะสำหรับการปลูกพืชไร่ ไม้ผล เป็นดินร่วนปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ ส่วนในบริเวณที่เป็นเนินเขา และภูเขามีความลาดชันมากกว่า 35% เป็นที่ลาดเชิงซ้อน (Sc; Slope complex) ควรเป็นพื้นที่ป่าแหล่งต้นน้ำลำธาร ไม่เหมาะแก่การเกษตร บางพื้นที่มีหินกระจายตามหน้า ดิน นอกจากนี้ยังมีดินชุดชลบุรี(Cb) เป็นดินเหนียวร่วนปนทรายอยู่ในบริเวณดินชุดหุบกะพงที่ติดกับชุดหนองแก ชายฝั่งทะเล เหมาะแก่การทำนา และดินชุดวัฒนา (Wa) แทรกอยู่เล็กน้อยในดินชุดหุบกะพง เป็นดินค่อนข้าง เหนียว เหมาะกับการทำนาเช่นกัน ส่วนผลการศึกษาของโครงการวิจัย การศึกษาเชิงเปรียบเทียบลุ่มน้ำ และผลกระทบของ การ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงต่อทรัพยากรดิน ผลผลิตเกษตร สิ่งแวดล้อม และรายได้ของเกษตรกร บริเวณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร (ยุทธศาสตร์ และคณะ, 2559) ซึ่งทำการเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตรา น้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย พบว่า ดินในพื้นที่ศึกษา มีความเป็นกรด-ด่าง (pH) ในระดับกรดรุนแรงถึงด่างอ่อน มี ความเค็มต่ำ และมีปริมาณไนโตรเจนที่พืชต้องการใช้ประโยชน์ต่ำ เมื่อทำการศึกษาสมบัติของดินด้านอุทกวิทยา โดยพิจารณาจากค่าอัตราการซึมน้ำผ่านผิวดินคงที่ (Constant infiltration rate; fc) ความชื้นในดิน (Soil moisture) และสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินเมื่อดินอิ่มตัว ด้วยน้ำ (Saturated soil hydraulics conductivity; Ksat) พบว่า ดินมีอัตราการซึมน้ำผ่านผิวดินคงที่ค่อนข้างสูง โดยจุดสำรวจในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย มีอัตราการซึมน้ำผ่านผิวดินคงที่ระหว่าง 3.39-87.02 เซนติเมตรต่อชั่วโมง (ระดับปานกลางถึงเร็วมาก) ส่วนลุ่มน้ำห้วยทราย อัตราการซึมน้ำผ่านผิวดินคงที่ระหว่าง 9.38-43.25 เซนติเมตรต่อ ชั่วโมง (ระดับเร็วถึงเร็วมาก) แต่ความชื้นดินค่อนข้างต่ำ รวมทั้งเมื่อทำการประเมินอัตราการสูญเสียดินจากพื้นที่ลุ่ม น้ำ พบว่า มีอัตราการสูญเสียดินของลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย 3.246 และ 1.182 ตันต่อไร่ต่อปี (ภาควิชาอนุรักษวิทยา, 2558) จัดอยู่ในระดับการสูญเสียดินปานกลาง และน้อย ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุเกิดจาก สภาพของเนื้อดินที่เป็นดินทราย ทำให้สามารถซึมน้ำได้ดี แต่ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ ซึ่งจากสภาพดังกล่าวทำให้ เกิดสภาพของความแห้งแล้ง และการขาดแคลนน้ำ ส่วนการสูญเสียดินที่เกิดขึ้นนั้น เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ ค่อนข้างเป็นพื้นที่ราบ ส่วนพื้นที่ภูเขาส่วนใหญ่เป็นลักษณะของเขาหินซึ่งมีดินน้อย ทำให้การบุกรุกพื้นที่ป่าในที่สูง เพื่อทำการเกษตรมีพื้นที่ไม่มาก และป่ายังคงสภาพ ตามธรรมชาติ ดังนั้น การสูญเสียดินที่เกิดขึ้นซึ่งพิจารณาในทั้ง พื้นที่ลุ่มน้ำจึงมีปริมาณค่อนข้างน้อย แหล่งน้ำในบริเวณลุ่มน้ำศึกษา ประกอบด้วยลำน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น โดยแหล่ง น้ำธรรมชาติ ได้แก่ คลองบางตราน้อย และห้วยทราย ส่วนแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยทราย บ่อพัก น้ำเขากระปุก อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด และบ่อน้ำในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ทั้งนี้ แหล่งน้ำ และ อ่างเก็บน้ำเหล่านี้ ได้ถูกบริหารจัดการโดยสร้างเป็นโครงข่ายอ่างเก็บน้ำเพื่อแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำที่เกิดขึ้น ในพื้นที่บริเวณนี้ ซึ่งประกอบด้วยอ่างเก็บน้ำห้วยไทรงาม อ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตาย อ่างเก็บน้ำทุ่งขาม อ่างเก็บน้ำห้วย ตะแปด บ่อพักน้ำเขากระปุก อ่างเก็บน้ำห้วยทราย และอ่างเก็บน้ำห้วยทราย (หุบกะพง) ทั้งนี้ ในโครงการวิจัยนี้ได้ ทำการเก็บตัวอย่างน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ รวมทั้งแหล่งน้ำในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ประกอบด้วยจุดเก็บตัวอย่างบริเวณจุดน้ำไหลออก (Outlet) ของลุ่มน้ำบางตราน้อย บ่อรับน้ำในพื้นที่อุทยาน สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อ่างเก็บน้ำห้วยทราย บ่อพักน้ำเขากระปุก และอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด เพื่อศึกษาการ เปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีววิทยา


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above