23 สำหรับประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำในบริเวณพื้นที่ศึกษา พบว่า แหล่งน้ำมีสภาพที่ตื้นเขิน บางพื้นที่ แหล่งน้ำถูกถมจนไม่เห็นสภาพลำน้ำเดิม รวมทั้งมีการปิดกั้น และกีดขวางทางน้ำ ซึ่งจากสภาพที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ ความสามารถในการเก็บกัก และระบายน้ำของแหล่งน้ำเสื่อมโทรมลง เกิดปัญหาของการขาดแคลนน้ำและอาจ เกิดสภาพของน้ำท่วม หรือน้ำไหลบ่าในกรณีที่เกิดฝนตกหนักได้ ส่วนการศึกษาด้านสภาพทางเศรษฐกิจ และสังคม ของประชากรตัวอย่างในบริเวณพื้นที่ ศึกษา ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมด 10 หมู่บ้าน 2,202 ครัวเรือน ซึ่งทำการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามจำนวน ทั้งหมด 96 ตัวอย่าง โดยข้อมูลด้านประชากร เศรษฐกิจ และสังคม ของทั้งพื้นที่ศึกษา พบว่า สภาพปัญหาของ พื้นที่ที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ และการจัดการสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาการมีส่วนร่วมใน กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ยังมีส่วนร่วมน้อย 5.2 การใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษาเปรียบเทียบระหว่างปีพ.ศ. 2552 และ 2558 (ตารางที่ 1 และภาพที่ 8) พบว่า ทั้งสองพื้นที่มีการใช้ที่ดินที่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม (พืชไร่ พืชสวน และปศุสัตว์) มากกว่าการใช้ที่ดินรูปแบบอื่น ๆ แต่ก็มีสัดส่วนใกล้เคียงกับพื้นที่ป่าไม้ อย่างไรก็ตาม เมื่อ พิจารณาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง พบว่า พื้นที่เกษตรกรรม และป่าไม้ มีแนวโน้มลดลง ส่วนพื้นที่ชุมชน และ เมือง มีพื้นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสภาพการขยายตัวของเมือง เนื่องจากพื้นที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และต่อเนื่องไปถึงอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ จึงมีการขยายตัวของพื้นที่ เมือง และที่พักอาศัยในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการท่องเที่ยว และการอยู่ อาศัยมากขึ้น 5.3 สภาพภูมิอากาศ 5.3.1 ลักษณะอากาศในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา การรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะอากาศในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา โดยใช้ ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศต่าง ๆ ที่อยู่โดยรอบพื้นที่ศึกษา ได้แก่ สถานีตรวจอากาศหัวหิน สถานีตรวจ อากาศเพชรบุรี สถานีตรวจอากาศประจวบคีรีขันธ์ และสถานีตรวจอากาศหนองพลับ ซึ่งเป็นข้อมูลรายคาบ 30 ปี(พ.ศ.2528-2558) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ปริมาณฝนเฉลี่ยระหว่าง 900-1,100 มิลลิเมตรต่อปี มี อุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 25-29 องศาเซลเซียส (ภาควิชาอนุรักษวิทยา, 2558) ทั้งนี้ พื้นที่บริเวณนี้เป็นบริเวณที่ มีฝนตกค่อนข้างน้อย ซึ่งจากการสอบถามจากประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ได้ทราบข้อมูลว่า พื้นที่บริเวณนี้ประสบ ปัญหาฝนตกน้อยติดต่อกันมาหลายปี ส่งผลให้เกิดสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อน เกิดปัญหาความแห้งแล้ง นอกจากนั้น จากปัญหาการบุกรุกทำลายป่าในพื้นที่ทางตอนบนของลุ่มน้ำได้ส่งผลต่อเนื่องมาถึงอ่างเก็บน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษาทั้งอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด บ่อพักน้ำเขากระปุก และอ่างเก็บน้ำห้วยทราย ซึ่งเป็นอ่างเก็บ น้ำ ที่อยู่ทางตอนล่างของพื้นที่ในระบบอ่างพวง ซึ่งอ่างเก็บน้ำทั้งสามแห่งนี้เก็บกักน้ำได้น้อยมาก รวมทั้ง ปริมาณน้ำที่เติมลงมาในอ่างก็มีปริมาณที่น้อย จึงทำให้เกิดปัญหาในด้านการบริหารจัดการน้ำ และการขาด แคลนน้ำในการนำไปใช้ประโยชน์ นอกจากนั้น จากการรวบรวมข้อมูลภูมิอากาศย้อนหลังเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง ด้านปริมาณฝนซึ่งเป็นข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศหัวหิน ของกรมอุตุนิยมวิทยา เป็นข้อมูลรายปีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2004-2013 (ตารางที่ 2) พบว่า แนวโน้มปริมาณน้ำฝนลดลง รวมทั้งจำนวนวันที่ฝนตกก็มีแนวโน้มลดลง
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above