Page 40

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

28 1) แปลงสำรวจแบบถาวร วางแปลงสำรวจถาวรในพื้นที่ป่าซึ่งเป็นตัวแทนของระบบ นิเวศป่าไม้ที่พบในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษาทั้งลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย จำนวนรวม 15 แปลง ประกอบด้วยป่าผสมผลัดใบ (ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) บริเวณเขาหนอกวัว เขาหุบสบู่ และเขาช่อง ม่วง บริเวณเขาพุหวาย บริเวณเขาทอง และเขาน้อย บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด (เขาเสวยกะปิ) และ บริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ รวมทั้งหมด 7 แปลง ป่าปลูกฟื้นฟู บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด (เขาเสวยกะปิ) บริเวณเขาสามพระยา บริเวณเขาพุหวาย บริเวณเขาทอง และเขาน้อย และพื้นที่อุทยาน สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร รวมทั้งหมด 4 แปลง ป่าชายเลนทั้งหมด 2 แปลง และป่าชายหาดอีก 2 แปลง ซึ่งอยู่ในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร 2) แปลงสำรวจชั่วคราว วางแปลงสำรวจแบบแปลงชั่วคราวจำนวนรวมทั้งหมด 235 แปลง ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณผสมเต็งรัง 170 แปลง ป่าปลูกฟื้นฟู35 แปลงป่าชายหาด 25 แปลง และ ป่าชายเลน 5 แปลง 5.4.2 สภาพสังคมพืชในแต่ละพื้นที่สำรวจ 1) บริเวณเขาหนอกวัว เขาหุบสบู่ และเขาช่องม่วง มีสภาพเป็นพื้นที่ภูเขา และพื้นที่ลูก คลื่นลอนลาด โดยบริเวณที่เป็นที่ราบ และเนินเขาที่มีความสูงไม่มาก มีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณ ส่วนบริเวณ สันเขา และยอดเขา มีสภาพเป็นป่าเต็งรัง แต่ทั้งสองสภาพป่ามีชนิดไม้ที่เป็นชนิดเดียวกันซึ่งเป็นสภาพที่พบได้ ทั่วไปในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา ดินค่อนข้างตื้น เนื้อดินเป็นทราย และลูกรัง หลายพื้นที่เป็นลานหิน และ หินก้อนขนาดใหญ่ จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า อินทรียวัตถุที่ปกคลุมผิวดินมีน้อย สภาพป่าค่อนข้างโปร่ง เรือนยอดปกคลุมของป่าประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ ต้นไม้มีขนาดไม่ใหญ่มาก ชนิดไม้ที่สำรวจพบ เช่น ประดู่ ตะแบกเลือด งิ้วป่า รัง สองสลึง ขี้อ้าย อ้อยช้าง รกฟ้า เก็ดแดง มะกอก ยางเหียง กาสามปีก ยางพลวง ผ่าเสี้ยน ทองหลางป่า มะกอกเกลื้อน แดง เป็นต้น ส่วนไผ่ที่สำรวจพบ ได้แก่ ไผ่ไร่ ไผ่ซางนวล และไผ่เพ็ก โดยขึ้นเป็นกลุ่มในบริเวณที่ราบ และปกคลุมพื้นล่างของป่า แต่ช่วงที่ทำการสำรวจในครั้งนี้ สภาพป่าได้ถูกไฟ ไหม้ จึงทำให้ส่วนใหญ่พบหลงเหลือเฉพาะไม้ยืนต้น ส่วนลูกไม้ และกล้าไม้ ถูกไฟไหม้ แต่ยังพบไม้ขนาดเล็ก ไผ่เพ็ก และวัชพืชหลงเหลืออยู่บ้าง นอกจากนั้น ในบริเวณพื้นที่ราบติดกับแนวภูเขา พบว่า มีการจับจองขยาย พื้นที่เพื่อทำการเกษตร โดยเฉพาะการเลี้ยงปศุสัตว์ซึ่งทำให้สภาพป่าบางส่วนมีสภาพที่เสื่อมโทรม 2) บริเวณเขาพุหวาย สภาพพื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่ภูเขาเตี้ย ๆ มีสภาพเป็นป่าเต็งรัง ส่วนพื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่ทำการเกษตร ชุมชน และสนามกอล์ฟ สภาพป่าพบต้นไม้ขนาดเล็กขึ้นกระจายใน พื้นที่ แต่ป่าถูกไฟไหม้จึงพบไม้ยืนต้นเป็นส่วนใหญ่ ส่วนลูกไม้ และกล้าไม้ถูกไฟไหม้ แต่ก็ยังพบหลงเหลือบ้าง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น พบว่า ดินตื้น เนื้อดินเป็นทราย และลูกรัง และพบลานหิน หินกรวด และหิน ก้อนขนาดใหญ่ อินทรียวัตถุที่ปกคลุมผิวดินมีน้อย สภาพป่าค่อนข้างโปร่ง เรือนยอดปกคลุมของป่าประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ต้นไม้มีขนาดไม่ใหญ่มาก และขึ้นกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ ชนิดไม้เด่นที่พบ เช่น ประดู่ รัง รกฟ้า ยางพลวง ยางเหียง มะกอกเกลื้อน มะกอก สองสลึง แดง เป็นต้น ส่วนไผ่ชนิดที่สำรวจพบ ได้แก่ ไผ่ไร่ และ ไผ่เพ็ก รวมทั้งพบปรงเหลี่ยมขึ้นกระจายในพื้นที่ป่า ส่วนพื้นล่างของป่าในบริเวณที่ไม่ถูกไฟไหม้ ยังพบไม้ขนาด เล็ก วัชพืช และไผ่เพ็กหลงเหลือปกคลุมในพื้นที่ 3) บริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(อ่างเก็บน้ำ ห้วยทราย อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด บ่อพักน้ำเขากระปุก รวมทั้งบริเวณใกล้เคียง) พื้นที่บริเวณนี้มีทั้งสภาพที่ เป็นพื้นที่ภูเขา และพื้นที่ราบ สภาพสังคมพืชที่พบมีทั้งพื้นที่ป่าปลูก ป่าฟื้นฟู ซึ่งมีการนำไม้โตเร็วเข้ามาปลูกใน พื้นที่ เช่น ยูคาลิปตัส กระถินณรงค์ กระถินยักษ์ เป็นต้น ส่วนพื้นที่ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังพบในบริเวณ ที่เป็น เนินเขา และพื้นที่ภูเขา ต้นไม้มีขนาดไม่ใหญ่มาก และพบขึ้นกระจายทั่วทั้งพื้นที่ พื้นที่ส่วนนี้ได้รับ


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above