Page 41

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

29 ผลกระทบจากไฟป่าน้อยกว่าบริเวณเขาหนอกวัว เขาหุบสบู่ และเขาช่องม่วง และบริเวณเขาพุหวาย อย่างไรก็ ตาม ชนิดต้นไม้ที่สำรวจพบไม่แตกต่างกันมาก ส่วนพื้นที่การเกษตรที่พบส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ สวนไม้ ผล และไม้ยืนต้น และยังพบพื้นที่ชุมชนซึ่งกระจายอยู่ตามริมถนน ทั้งนี้ สภาพป่าที่สำรวจในพื้นที่บริเวณนี้ มี สภาพเป็นป่าโปร่ง ดินตื้น เนื้อดินเป็นทราย ลูกรัง และกรวด บางพื้นที่ยังเป็นหินโผล่ หรือก้อนหินขนาดใหญ่ อินทรียวัตถุที่ปกคลุมผิวดินหนาประมาณ 1 เซนติเมตร เรือนยอดปกคลุมของป่าประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ชนิด ไม้ที่สำรวจพบ เช่น รัง ประดู่ รกฟ้า แดง รัก ตะแบกเลือด อ้อยช้าง ฉนวน มะกอกเกลื้อน สองสลึง กระพี้ เป็น ต้น 4) บริเวณเขาสามพระยา มีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณ และป่าฟื้นฟูป่ารุ่นสอง แต่ บางพื้นที่ได้ถูกบุกรุกพื้นที่เพื่อทำการเกษตร รวมทั้งมีการปลูกไม้โตเร็วหลายชนิดในพื้นที่บริเวณนี้ด้วย เช่น ยูคาลิปตัส กระถินยักษ์ กระถินณรงค์ เป็นต้น พื้นที่ที่เป็นที่ราบพบร่องรอยมีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า โดยมีทั้งการจับจองพื้นที่เพื่อทำการเกษตร รวมทั้งใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่ทิ้งขยะ จากการสำรวจในพื้นที่ พบว่า ดินค่อนข้างตื้น เนื้อดินเป็นทราย บางแห่งเป็นดินลูกรัง รวมทั้งพบลานหิน และหินก้อนขนาดใหญ่ กระจายอยู่ทั่วไป มีปริมาณอินทรียวัตถุที่ปกคลุมผิวดินหนาประมาณ 1 เซนติเมตร สภาพป่าค่อนข้างโปร่ง เรือนยอดปกคลุมของป่าประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ต้นไม้มีขนาดไม่ใหญ่มาก และขึ้นกระจายอยู่ห่าง ๆ พื้นล่าง ของป่ามีวัชพืชขึ้นปกคลุมพื้นที่หนาแน่น ซึ่งชนิดไม้ที่สำรวจพบ เช่น ประดู่ รัง โมกมัน มะกอกเกลื้อน อ้อยช้าง มะกอก มะค่าโมง แดง เหมือด เป็นต้น ส่วนไผ่ชนิดที่พบ ได้แก่ ไผ่ไร่ และไผ่ซางนวล 5) บริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และบริเวณใกล้เคียง พื้นที่ภายใน เขตอุทยานฯ ประกอบด้วยพื้นที่ป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าฟื้นฟูป่ารุ่นสอง โดยป่าชายเลนเป็นพื้นที่ที่ ปลูก และฟื้นฟูระบบนิเวศจากสภาพที่มีความเสื่อมโทรม แต่บางพื้นที่ยังมีสภาพเป็นดินทราย และต้นไม้ยังมี ขนาดเล็ก ซึ่งในปัจจุบันต้นไม้มีความโตเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีพรรณไม้ที่เจริญเติบโตขึ้นมาหลายชนิดเพิ่ม มากขึ้น สำหรับพรรณไม้ที่พบในพื้นที่ป่าชายเลนทูลกระหม่อมนี้ เช่น โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก แสมทะเล ฝาดขาว ผักบุ้งทะเล โพทะเล จาก เหงือกปลาหมอ ตาตุ่มทะเล เป็นต้น ส่วนสภาพของป่าชายหาด เป็นสังคมพืชที่พบขึ้นในบริเวณที่เป็นดินทราย รวมทั้งบางพื้นที่ที่มีน้ำท่วมถึงจากน้ำขึ้นน้ำลง แต่เนื่องจาก ดินยังเป็นทรายจัด และน้ำไม่ท่วมขัง จึงยังไม่พบสภาพที่เปลี่ยนไปเป็นป่าชายเลน สำหรับชนิดพรรณไม้ที่พบ เช่น สนทะเล สนประดิพัทธ์ สะเดา โพทะเล กระทิง สะแกนา เป็นต้น และสภาพของป่าฟื้นฟูป่ารุ่นสอง เป็น สภาพที่เกิดขึ้นทั้งจากการนำต้นไม้เข้ามาปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่ และจากการฟื้นคืนสภาพตามธรรมชาติ โดยที่พื้นที่ของอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มีสภาพเป็นดินทรายจัด ที่เกิดจากตะกอนที่ถูกพัดพาลงมา ทับถมกัน ทำให้พืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีต้องมีการปรับสภาพเพื่อให้เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่เป็นทราย ต้นไม้ที่พบจึงมักขึ้นเป็นหย่อมเล็ก ๆ และมีความโตไม่มาก ทั้งนี้ การพิจารณาสภาพของสังคมพืช จึงแยกเป็น 2 สังคม โดยมีทั้งสังคมพืชที่เป็นต้นไม้ที่นำมาปลูกในพื้นที่ เช่น นนทรี กระถินณรงค์ ขี้เหล็ก สะเดา ประดู่ ตีนเป็ด กระถินเทพา เป็นต้น ส่วนสังคมของพรรณไม้ที่พบขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น มะขามเทศ ขันทองพยาบาท โมกมัน มะกอกป่า มะค่าแต้ ข่อย สะแกนา กาสามปีก จามจุรี เป็นต้น 5.4.3 ลักษณะทางนิเวศวิทยาป่าไม้ 1) ป่าผสมผลัดใบ (ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) ในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย สภาพป่าที่พบส่วนใหญ่ เป็นลักษณะของป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังที่ขึ้นปนกัน โดยบริเวณที่เป็นหุบเขา ร่องเขา ที่ดินค่อนข้างลึก มี สภาพเป็นป่าเบญจพรรณ ส่วนบริเวณที่สูงขึ้นไปซึ่งดินตื้น เป็นดินลูกรังหรือก้อนหิน มีสภาพเป็นป่าเต็งรัง ทั้งนี้ ในทุกพื้นที่สำรวจส่วนใหญ่ดินตื้นมาก บางพื้นที่เป็นลูกรังและเป็นสภาพของก้อนหินโผล่ นอกจากนั้น ในทุก


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above