30 พื้นที่ได้รับผลกระทบจากการถูกไฟไหม้ ทำให้ต้นไม้ขนาดเล็ก ลูกไม้ และกล้าไม้ต่าง ๆ เหลืออยู่ไม่มาก หรือบาง พื้นที่ ไม่มีไม้ขนาดเล็กเหลืออยู่ ทั้งนี้ ช่วงที่ทำการสำรวจครั้งแรก และครั้งที่สาม พบปัญหาไฟไหม้ป่าในเกือบทุกจุด สำรวจ แต่ก็ยังพบหลายพื้นที่ที่ยังมีต้นไม้ค่อนข้างใหญ่หลงเหลืออยู่ และขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ผลการสำรวจสภาพ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังในพื้นที่วิจัยนี้ พบทั้งในบริเวณเขาหนอกวัว เขาหกสบู่ และเขาช่องม่วง บริเวณเขาพุ หวาย บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยทราย อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด (เขาเสวยกะปิ) และศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ (เขารังแร้ง เขาทอง เขาน้อย เขากระปุก) และบริเวณเขาสามพระยา สำหรับการวางแปลงสำรวจลักษณะทาง นิเวศวิทยาป่าไม้ ทำการวางแปลงสำรวจชั่วคราวรวมทั้งหมด 170 แปลงสำรวจ และวางแปลงถาวรรวม 7 แปลง ซึ่ง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมของทั้งพื้นที่ศึกษา พบว่า สภาพป่าค่อนข้างโปร่ง ต้นไม้มีขนาดไม่ใหญ่มากแต่มี หลายขนาดขึ้นปะปนกัน บริเวณที่เป็นป่าเบญจพรรณพบไผ่ขึ้นปะปนในพื้นที่อย่างหนาแน่น ส่วนบริเวณที่เป็นป่า เต็งรังเป็นลูกไม้ และกล้าไม้ขนาดเล็ก วัชพืช และไม้พื้นล่างอื่น ๆ เช่น ปรงเหลี่ยม (Cycas siamensis Miq.) ไผ่เผ็ก (Bambusa glaucescens Munro ex Merr.) ผกากรอง (Lantana camara Linn.) เป็นต้น ดินค่อนข้างตื้น บาง พื้นที่เป็นหินโผล่ การปกคลุมพื้นล่างของป่าเปลี่ยนแปลงตามช่วงฤดูกาล โดยในช่วงฤดูฝนลูกไม้ และกล้าไม้จะพบ จำนวนมาก ส่วนในช่วงฤดูร้อน พื้นที่ป่าส่วนใหญ่ถูกไฟไหม้ จึงทำให้พบไม้ขนาดเล็กน้อยมาก หรือถูกเผาจนตาย หมด (ภาพที่ 10) ชนิดไม้เด่นที่พบ เช่น รัง (Shorea siamensis Miq.) ตะแบกแดง (Lagerstroemia calyculata Kurz) งิ้วป่า (Bombax anceps Pierre) ประดู่(Pterocarpus macrocarpus Kurz) อ้อยช้าง (Lannea coromandelica Merr.) มะกอก (Spondias pinnata (L.f.) Kurz) มะกอกเกลื้อน (Canarium subulatum Guill.) เต็ง (Shorea obtusa Wall.) มะค่าแต้(Sindora siamensis Teijsm. ex Miq.) แดง (Xylia xylocarpa Taub.) กาสามปีก (Vitex peduncularis Wall. ex Schauer) มะเกลือ (Diospyros mollis Griff.) ตะโกนา (Diospyros rhodocalyx Kurz) รกฟ้า (Terminalia alata Heyne ex Roth) เป็นต้นเรือนยอดปกคลุมของป่า ประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ โครงสร้างด้านตั้งของสังคมพืชแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด ชั้นอินทรียวัตถุที่ปกคลุม ผิวหน้าดินประมาณ 1 เซนติเมตร การวิเคราะห์ข้อมูลพบชนิดไม้ใหญ่ยืนต้น (Tree) 123 ชนิด ลูกไม้(Sapling) 116 ชนิด และกล้าไม้(Seedling) 92 ชนิด และพบไผ่ชนิดเดียว ได้แก่ ไผ่รวก (Thyrsostachys siamensis Gamble) สำหรับไม้ใหญ่ยืนต้นมีขนาดความโต (Diameter at breast height: dbh) เฉลี่ยประมาณ 14 เซนติเมตร ความสูง เฉลี่ยประมาณ 10 เมตร ส่วนลูกไม้มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 6 เมตร โครงสร้างด้านตั้งของป่า (Plant profile) จำแนกเป็น 2 ชั้นเรือนยอด โดยเรือนยอดชั้นบน มีความสูงตั้งแต่ประมาณ 15 เมตร ขึ้นไป แต่มีจำนวนไม่มาก ชนิด ไม้เด่นที่พบในชั้นเรือนยอดนี้ เช่น มะเกลือ (Diospyros mollis Griff.) ตะแบกแดง (Lagerstroemia calyculata Kurz) รกฟ้า (Terminalia alata Heyne ex Roth) ประดู่(Pterocarpus macrocarpus Kurz) มะกอกเกลื้อน (Canarium subulatum Guill.) ตีนนก (Vitex pinnata Linn.) รัง (Shorea siamensis Miq.) มะกอก (Spondias pinnata (L.f.) Kurz) เต็ง (Shorea obtusa Wall.) อ้อยช้าง (Lannea coromandelica Merr.) เป็นต้น ส่วนเรือนยอดชั้นล่าง เป็นชั้นเรือนยอด ของไม้ยืนต้นต่าง ๆ และลูกไม้หรือไม้หนุ่ม มีความสูงน้อยกว่า 10 เมตร ซึ่งหลายชนิดเป็นชนิดเดียวกับที่พบในชั้นเรือน ยอดชั้นบน รวมทั้งไม้ขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ ที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ส่วนกล้าไม้ เป็นชนิดเดียวกับไม้ใหญ่ และลูกไม้ที่พบใน พื้นที่สำรวจ และไม้พื้นล่างอื่น ๆ รวมไปถึงวัชพืชต่าง ๆ เช่น ปรงเหลี่ยม (Cycas siamensis Miq.) ไผ่เผ็ก (Bambusa glaucescens Munro ex Merr.) ผกากรอง (Lantana camara Linn.) หญ้าคา (Imperata cylindrica Beauv.) ไมยราบ ยักษ์(Mimosa pigra Linn.) สาบเสือ (Eupatorium odoratum Linn.) หนามคณฑา (Harrisonia perforata (Lour.) Merr.) และหญ้าอีกหลายชนิด นอกจากนี้ ยังพบไม้โตเร็วที่นำเข้ามาปลูกในพื้นที่ปะปนอยู่ด้วย เช่น สะเดา (Azadirachta indica A. Juss.) กระถินยักษ์(Leucaena leucocephala de Wit) ยูคาลิปตัส (Eucalyptus camandulensis Dehn.) อะราง (Peltophorum dasyrachis Kurz) เป็นต้น
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above