Page 64

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

52 ต้นไม้ขนาดความโต 30-60 เซนติเมตร เฉลี่ย 1 ต้นต่อไร่แต่ไม่พบต้นไม้ที่มีขนาดความโตมากกว่า 60 เซนติเมตร ส่วนลูกไม้ หรือไม้หนุ่ม (Saplings / Polings) สำรวจพบ 116 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 1,802 ต้นต่อไร่และกล้าไม้(Seedlings) สำรวจพบ 92 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 5,091 ต้นต่อไร่รวมทั้งสำรวจ พบไม้ไผ่1 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 305 ลำต่อไร่ส่วนการวิเคราะห์ปริมาตรไม้ซึ่งประเมินจากสูตรปริมาตร ไม้ พบว่า มีปริมาตรไม้เฉลี่ย 6.1749 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่และส่วนใหญ่เป็นไม้ในชั้นคุณภาพ (TQ) ที่ 2 เฉลี่ย 3.3326 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ซึ่งจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า สภาพป่าค่อนข้างโปร่ง ต้นไม้มีขนาดไม่โตมาก ส่วน ไม้ขนาดเล็กก็มีจำนวนไม่มาก ทั้งนี้ สภาพป่าในบริเวณพื้นที่ที่สำรวจได้รับผลกระทบจากสภาวะอากาศที่มีฝน ตกน้อย อากาศร้อน รวมทั้งไฟไหม้ป่า และการบุกรุกพื้นที่ป่า จึงมีหลายพื้นที่ที่มีสภาพเสื่อมโทรมลง 2) ป่าฟื้นฟู(ป่ารุ่นสอง/สวนป่า/ป่าปลูก) สภาพป่าฟื้นฟูที่สำรวจพบในบริเวณพื้นที่ศึกษา มีทั้งพื้นที่ที่ปลูกไม้โตเร็ว ชนิดเดียว ต้นไม้ที่ปลูกผสมกันหลายชนิด รวมทั้งพื้นที่ที่ฟื้นฟูสภาพตามธรรมชาติ โดยพบกระจายในพื้นที่ สำรวจทั้งบริเวณพื้นที่เขาหนอกวัว เขาหุบสบู่ และเขาช่องม่วง บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยทราย อ่างเก็บน้ำห้วยตะ แปด (เขาเสวยกะปิ) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ บริเวณเขาสามพระยา รวมทั้งในพื้นที่อุทยาน สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ทั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลภาพรวม พบว่า เมื่อพิจารณาด้านชนิด ความหนาแน่น และปริมาตรไม้สำรวจพบไม้ใหญ่ยืนต้น (Trees) 70 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 47 ต้นต่อไร่และเมื่อแยก พิจารณาตามขนาดความโต (Diameter at breast height : dbh) พบต้นไม้ขนาดความโต 10-30 เซนติเมตร เฉลี่ย 46 ต้นต่อไร่ต้นไม้ขนาดความโต 30-60 เซนติเมตร เฉลี่ย 1 ต้นต่อไร่แต่ไม่พบต้นไม้ที่มีขนาดความโต มากกว่า 60 เซนติเมตร ส่วนลูกไม้ หรือไม้หนุ่ม (Saplings / Polings) สำรวจพบ 77 ชนิด มีความหนาแน่น เฉลี่ย 1,398 ต้นต่อไร่และกล้าไม้(Seedlings) สำรวจพบ 41 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 4,400 ต้นต่อไร่ รวมทั้งสำรวจพบไม้ไผ่ 1 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 163 ลำต่อไร่ส่วนการวิเคราะห์ปริมาตรไม้พบว่า มี ปริมาตรไม้เฉลี่ย 5.9535 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่และส่วนใหญ่เป็นไม้ในชั้นคุณภาพ (TQ) ที่ 3 เฉลี่ย 2.8354 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ซึ่งจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า สภาพป่าค่อนข้างโปร่ง ต้นไม้มีขนาดไม่โตมาก ส่วนไม้ขนาด เล็กก็มีจำนวนไม่มาก บางพื้นที่เริ่มมีการฟื้นคืนสภาพของไม้ป่าดั้งเดิม แต่จากสภาวะอากาศที่มีฝนตกน้อย อากาศร้อน รวมทั้งมีปัญหาจากไฟไหม้ และการบุกรุกพื้นที่ป่า การเจริญเติบโตของต้นไม้ และการฟื้นคืนสภาพ ของป่าจึงเป็นไปได้ช้า 3) ป่าชายหาด สภาพป่าชายหาดในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และ บริเวณใกล้เคียง เป็นกลุ่มของสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีสภาพเป็นดินทรายจัด ต้นไม้จึงขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม บาง พื้นที่มีการปลูกต้นไม้เสริมเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าด้วย เช่น สนประดิพัทธ์ ยางนา กระถินยักษ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การ วิเคราะห์ข้อมูล พบว่า เมื่อพิจารณาด้านชนิด ความหนาแน่น และปริมาตรไม้สำรวจพบไม้ใหญ่ยืนต้น (Trees) 35 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 41 ต้นต่อไร่และเมื่อแยกพิจารณาตามขนาดความโต (Diameter at breast height : dbh) พบต้นไม้ขนาดความโต 10-30 เซนติเมตร เฉลี่ย 39 ต้นต่อไร่ต้นไม้ขนาดความโต 30-60 เซนติเมตร เฉลี่ย 2 ต้นต่อไร่แต่ไม่พบต้นไม้ที่มีขนาดความโตมากกว่า 60 เซนติเมตร ส่วนลูกไม้ หรือไม้หนุ่ม (Saplings / Polings) สำรวจพบ 34 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 2,010 ต้นต่อไร่และกล้าไม้(Seedlings) สำรวจพบ 16 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 4,329 ต้นต่อไร่รวมทั้งสำรวจพบไม้ไผ่ 2 ชนิด มีความหนาแน่น เฉลี่ย 14 ลำต่อไร่ส่วนการวิเคราะห์ปริมาตรไม้พบว่า มีปริมาตรไม้เฉลี่ย 6.3148 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่และ ส่วนใหญ่เป็นไม้ในชั้นคุณภาพ (TQ) ที่ 3 เฉลี่ย 4.2717 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ซึ่งจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า สภาพป่าค่อนข้างโปร่ง ต้นไม้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่โตมาก รวมทั้งต้นไม้ขนาดเล็กก็มีจำนวนไม่มาก ทั้งนี้ ในพื้นที่


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above