Page 65

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

53 ของอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ได้มีความพยายามในการปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นคืนสภาพป่า แต่จากสภาพ ที่อากาศร้อน ฝนตกน้อย รวมทั้งดินที่เป็นทรายจัด จึงทำให้การเจริญเติบโตของต้นไม้ค่อนข้างช้า 4) ป่าชายเลน สภาพป่าชายเลนในพื้นที่ป่าชายเลนทูลกระหม่อม บริเวณอุทยาน สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มีทั้งสภาพป่าที่มีการฟื้นฟูมาเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ปีพ.ศ.2537 รวมทั้งพื้นที่ ฟื้นฟูเพิ่มเติม จึงมีสภาพของสังคมพืชที่แตกต่างกันชัดเจน โดยบริเวณที่ปลูกฟื้นฟูซึ่งมีสภาพเป็นดินเลนมีน้ำ ท่วมขังเป็นเวลานานต้นไม้จะมีขนาดที่โตกว่าบริเวณที่เป็นดินทราย และน้ำท่วมขังเป็นบางช่วงเวลา ทั้งนี้ ผล การวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า เมื่อพิจารณาด้านชนิด ความหนาแน่น และปริมาตรไม้ สำรวจพบไม้ใหญ่ยืนต้น (Trees) 5 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 765 ต้นต่อไร่ส่วนลูกไม้(Sapling) และกล้าไม้(Seedlings) สำรวจ พบทั้งหมด 3 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ย 80 และ 5,760 ต้นต่อไร่ส่วนการวิเคราะห์ปริมาตรไม้พบว่า มี ปริมาตรไม้เฉลี่ย 12.7734 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ 5.4.6 ความหลากชนิด การสำรวจในภาพรวมของสังคมพืชในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษาทั้งสองพื้นที่ พบว่า มี ชนิดไม้ใหญ่ยืนต้นรวมทั้งหมด 134 ชนิด ลูกไม้ หรือไม้หนุ่ม 132 ชนิด กล้าไม้97 ชนิด และชนิดไม้อื่น ๆ ทั้ง ไม้ไผ่ วัชพืช ปาล์ม และอื่น ๆ อีก 46 ชนิด (ตารางผนวกที่ 1) และเมื่อวิเคราะห์ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (Species diversity) โดยใช้Fisher’s index of diversity โดย Fisher และคณะ (1943) เป็นค่าดัชนีความ หลากหลาย ซึ่งมีสูตรในการคำนวณ ดังนี้ S =  loge (1+N/) โดยที่ S = จำนวนชนิดพันธุ์ไม้ในแปลงตัวอย่าง N = จำนวนต้นไม้ทั้งหมดในแปลงตัวอย่าง  = Fisher’s index of diversity ทั้งนี้ การคำนวณดัชนีความหลากหลายในบริเวณพื้นที่ศึกษาโดยใช้เฉพาะข้อมูลของ ไม้ใหญ่(ชนิดพันธุ์) และจำนวนของไม้ใหญ่ทั้งหมดที่สำรวจพบในแปลงสำรวจ พบว่า มีค่า Fisher‘s index of diversity () ของพื้นที่ป่าผสมผลัดใบ ป่าฟื้นฟู/ ป่าปลูก ป่าชายหาด และป่าชายเลน มีค่าเท่ากับ 22.28, 18.88, 9.77 และ 0.89 ซึ่งค่าดัชนีความหลากหลายนี้เป็นค่าที่แสดงถึงจำนวนชนิดพันธุ์ (Species richness) และความสม่ำเสมอ (Species evenness) ของต้นไม้ในพื้นที่ ซึ่งค่าที่คำนวณได้หากมีค่าสูง แสดงว่า ทั้งชนิด และจำนวนต้นมีค่ามาก ส่วนค่าที่คำนวณได้ที่มีค่าต่ำอาจเนื่องจากมีจำนวนชนิด หรือจำนวนต้นไม้น้อย 5.4.7 สถานภาพของพรรณพืช การพิจารณาสถานภาพของพรรณพืช แสดงถึงความสำคัญของต้นไม้ชนิดต่าง ๆ ที่ พบในพื้นที่สำรวจ ทั้งนี้ ต้นไม้หลายชนิดมีความสำคัญ และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ จึงได้รับการกำหนดให้เป็นไม้ หวงห้าม นอกจากนั้น ยังมีการกำหนดชนิดของพันธุ์ไม้บางชนิดเป็นชนิดที่ใกล้สูญพันธ์ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการ อนุรักษ์อย่างเข้มงวด และพืชบางชนิดได้ถูกกำหนดให้เป็นพืชเฉพาะถิ่น (Endemic species) ซึ่งสามารถพบ ได้ในพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะเท่านั้น ทั้งนี้ คุณค่าทางนิเวศวิทยาของทรัพยากรป่าไม้จึงใช้การกำหนดสถานภาพ


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above