Page 67

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

55 (Anaurornis phoenicurus) นกสีชมพูสวน (Dicaaeum ignipectus) นกกระจิบคอดำ (Orthotomus atrogularis) นกพญาปากกว้างท้องแดง (Cymbirhynchus macrorhynchos) นกปรอดหัวสีเขม่า (Pycnonotus aurigaster) นก เอี้ยงหงอน (Acridotheres javanicus) นกหัวขวานสีตาล (Micropternus brachyurus) เหยี่ยวนกเขาชิ ครา (Accipiter badius) นกเค้ากู่(Otusl ettia) เป็นต้น 2) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สำรวจพบ 10 ชนิด 9 วงศ์6 อันดับ (ตารางผนวกที่ 3) เช่น ค้างคาวขอบหูขาวกลาง (Cynopterus sphinx) หนูหวาย (Leopoldamys sabanus) กระรอกหลากสี(Callosciuru sfinlaysonii) กระเล็นขนปลายหูสั้น (Tamiop srodolphii) เป็นต้น 3) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สำรวจพบ 6 ชนิด 4 วงศ์1 อันดับ (ตารางผนวกที่ 4) เช่น คางคกแคระ (Ingerophrynu sparvus) เขียดทราย (Occidozyga martensii) ปาดบ้าน (Polypedate sleucomystax) เป็นต้น 4) สัตว์เลื้อยคลาน สำรวจพบ 15 ชนิด 9 วงศ์3 อันดับ (ตารางผนวกที่ 5) เช่น จิ้งเหลน หลากลาย (Eutropi smacularia) จิ้งเหลนหางยาว (Eutropi slongicaudata) ตุ๊กแกบ้าน (Gekko gecko) เป็นต้น 5.5.2 ความชุกชุมของสัตว์ป่า การวิเคราะห์ความชุกชุม (Abundance) กำหนดความชุกชุมเป็น 3 ระดับ คือ ชุก ชุมมาก ชุกชุมปานกลาง และชุกชุมน้อย ซึ่งความชุกชุมสามารถบอกถึงปริมาณ และความถี่ของการสำรวจของ สัตว์์ป่าแต่่ละชนิดที่พบ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1) นก มีความชุกชุมน้อย 10 ชนิด เช่น นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่(Dicrurus macrocercus) นกยางควาย (Bubulcus coromandus) นกกระจิบธรรมดา (Orthotomus sutorius) เป็นต้น ชุกชุมปานกลาง 49 ชนิด เช่น นกกระปูดใหญ่(Centropus sinensis) นกกินแมลงอกเหลือง (Macronus glularis) เป็นต้น และชุกชุมมาก 6 ชนิด เช่น นกกระแตแต้แว้ด (Vanellus indicus) นกเอี้ยงสาริกา (Acridotheres tristis) นกกินปลีอกเหลือง (Nectarinia jugularis) นกกระจอกบ้าน (Passer montanus) เป็นต้น 2) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทุกชนิดมีความชุกชุมน้อย 3) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีความชุกชุมน้อย 3 ชนิด คือ คางคกแคระ (Ingerophrynus parvus) เขียดทราย (Occidozyga martensii) และอึ่งอ่างบ้าน (Kaloula pulchra) และชนิดที่เหลืออีก 3 ชนิด มีความชุกชุมปานกลาง 4) สัตว์เลื้อยคลาน มีความชุกชุมน้อย 4 ชนิด ได้แก่ งูเห่า (Naja sp.) งูกะปะ (Calloselasma rhodostoma) งูเขียวปากแหนบ (Ahaetulla nasuta) และงูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (Cryptelytrops albolabris) และชนิดที่เหลืออีก 11 ชนิด มีความชุกชุมปานกลาง


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above