Page 66

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

54 ของพรรณพืชเป็นแนวทางหนึ่งในการอธิบายคุณค่าทางนิเวศวิทยาป่าไม้ ทั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจ มีรายละเอียด ดังนี้ 1) พืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศไทย จากการตรวจสอบเอกสาร Thailand Red Data : Plants พบว่า ปรงเหลี่ยม ได้รับการจัดสถานภาพเป็นชนิดพืชหายาก (Rare) 2) ไม้หวงห้ามประเภท ก ไม้หวงห้ามธรรมดาตามพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวง ห้าม พ.ศ. 2530 ต้นไม้หลายชนิดถูกกำหนดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก เช่น แดง ตะคร้อ ตะแบก ตีนนก ประดู่ มะค่าโมง นนทรี เต็ง รัง โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก มะกอกเกลื้อน เป็นต้น รวมทั้งไม้หวงห้ามประเภท ก (ชนิดพิเศษ) ที่ต้องขออนุญาตก่อนการทำไม้ ได้แก่ สัก และยางนา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ที่ปลูกขึ้น 3) ไม้หวงห้ามประเภท ข ไม้หวงห้ามพิเศษตามพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 พบพรรณไม้ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ข ได้แก่ แสลงใจ 4) พืชเฉพาะถิ่น หรือพืชถิ่นเดียว (Endemic Species) บริเวณพื้นที่โครงการไม่พบ ชนิดพืชที่ถูกกำหนดเป็นพืชเฉพาะถิ่น 5) ของป่าหวงห้าม ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ.2530 พบพืช หลายชนิดที่ถูกกำหนดเป็นของป่าหวงห้าม เช่น กล้วยไม้ป่าทุกชนิด เปลือกไม้ หวายชนิดต่าง ๆ เป็นต้น 5.5 ทรัพยากรสัตว์ป่า การสำรวจทรัพยากรสัตว์ป่าในบริเวณพื้นที่ศึกษา ทำการสำรวจทั้งทางตรงโดยการพบเห็นตัว สัตว์ตามจุดสำรวจที่กำหนดขึ้น ซึ่งจุดสำรวจสัตว์ป่าเป็นพื้นที่บริเวณเดียวกับการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้ง พิจารณาตามสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย และใช้ประโยชน์ของสัตว์ป่า ทั้งพื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน้ำ และชุมชน นอกจากนั้น ยังสำรวจโดยการดักจับด้วยตาข่าย และกรงดักจับ ในบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ทั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่า ชนิดสัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่เป็นสัตว์ในกลุ่มนก ส่วนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก พบได้น้อย ชนิดสัตว์ป่าที่พบเป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้า กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดี ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งชุมชน มีกิจกรรมการใช้ประโยชน์ ที่ดินที่เข้มข้น รวมทั้งสภาพป่าที่ถูกไฟไหม้จนหลายแห่งมีความเสื่อมโทรม แหล่งน้ำธรรมชาติมีน้ำน้อย พื้นที่ที่ สัตว์ป่าใช้ประโยชน์จึงถูกรบกวนจากปัจจัยทั้งจากธรรมชาติ และกิจกรรมของมนุษย์ ทำให้พบสัตว์ป่าได้น้อย และ พบสัตว์ป่าชนิดที่สามารถพบเห็นได้ง่าย และพบทั่วไป ทั้งนี้ มีรายละเอียดผลการสำรวจ ดังนี้ 5.5.1 ความหลากชนิดของสัตว์ป่า การสำรวจชนิดของสัตว์ป่า 4 กลุ่ม คือ นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำ สะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลาน พบสัตว์ป่าทั้งหมด 96 ชนิด 59 วงศ์25 อันดับ (ตารางที่ 6 และภาพที่ 30) ซึ่ง มีรายละเอียด ดังนี้ 1) นก สำรวจพบมากที่สุดจำนวน 65 ชนิด 37 วงศ์15 อันดับ (ตารางผนวกที่ 2) เช่น นกแอ่นบ้าน (Apus nipalensis) นกกระปูดใหญ่(Centropus sinensis) นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ (Dicrurus macrocercus) นกตบยุงป่าโคก (Caprimulgus affinis) นกตีนเทียน (Himantopus himantopus) นกชายเลน น้ำจืด (Tringa glareola) นกกินเปี้ยว (Todiramphas chloris) leschenaultia) นกจาบคาหัวสีส้ม (Merops leschenaultia) นกกะรางหัวขวาน (Upupa epops) เป็ดแดง (Dendrocygna javanica) นกตะขาบทุ่ง (Coracias indica) นกจาบฝนปีกแดง (Mirafra erythrocephala) ไก่ป่า (Gallus gallus) นกกาน้ำเล็ก (Microcarbo niger) นกยางเปีย (Ergretta garzetta) นกยางทะเล (Ergretta sacra) นกยางควาย (Bubulcus coromandus) นกยางโทนน้อย (Ardea intermedia) นกยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) นกกวัก


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above