Page 70

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

58 5.5.3 สถานภาพของสัตว์ป่า การพิจารณาสถานภาพของสัตว์ป่าอ้างอิงตามการจำแนกสถานภาพของ IUCN (International Union for Conservation of Nature and Natural resources) ซึ่งเป็นการจำแนก สถานภาพระดับสากลในปีล่าสุด (2014) การจำแนกของสำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม (2540) และการจำแนกชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามในประเทศไทย ตามฐานข้อมูล Red data of Thailand (2548) สำหรับสัตว์ป่าในประเทศไทย (http://chm-thai.onep.go.th) และการจำแนกตามกฎหมายโดย พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และประกาศเพิ่มเติมสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ ได้ พ.ศ. 2546 โดยมีรายละเอียดของสัตว์ป่าแต่ละกลุ่ม ดังนี้ 1) นก สถานภาพซึ่งกำหนดโดย IUCN พบว่า เกือบทั้งหมด (64 ชนิด) ถูกจัดสถานภาพ อยู่ในกลุ่มชนิดที่เป็นที่กังวลน้อยที่สุด (Least concerned) มี1 ชนิด ได้แก่ นกยูง (Pavo muticus) ได้รับ การกำหนดสถานภาพเป็นชนิดใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) ส่วนการกำหนดสถานภาพโดยสำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พบว่า เกือบทั้งหมด (63 ชนิด) ยังไม่ได้รับการกำหนดสถานภาพ โดย มี1 ชนิด ที่ได้รับการกำหนดสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) ได้แก่ นกยูง (Pavo muticus) และ 1 ชนิด ที่ ได้รับการกำหนดสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม (Near threatened) ได้แก่นกปรอดหัวโขน (Pycnonotus jocosus) ส่วนการกำหนดสถานภาพตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พบว่า นกส่วนใหญ่จำนวน 60 ชนิด ถูกกำหนดสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ในจำนวนนี้มี4 ชนิดที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่สามารถ เพาะพันธุ์ได้ เช่น นกกางเขนบ้าน (Copsychus saularis) นกเอี้ยงสาริกา (Acridotheres tristis) นกเอี้ยง หงอน (Acridotheres grandis) และนกปรอดหัวโขน (Pycnonotus jocosus) ส่วนที่เหลืออีก 5 ชนิด ยังไม่ได้ รับการกำหนดสถานภาพ (สัตว์ป่านอกประเภท) 2) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สถานภาพซึ่งกำหนดโดย IUCN พบว่า ทุกชนิดถูกจัดสถานภาพ อยู่ในกลุ่มชนิดที่เป็นที่กังวลน้อยที่สุด (Least concerned) สำหรับการกำหนดสถานภาพโดยสำนักงาน นโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พบว่า ทุกชนิดยังไม่ได้รับการกำหนดสถานภาพ และ การกำหนดสถานภาพตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พบว่า มีสัตว์ป่า 5 ชนิด ถูก กำหนดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เช่น หมูป่า (Sus scrofa) พังพอนเล็ก (Herpestes javanicus) กระจงหนู(Tragulus kanchil) เป็นต้น และที่เหลืออีก 5 ชนิด ยังไม่ได้รับการกำหนดสถานภาพ (สัตว์ป่านอกประเภท) 3) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สถานภาพซึ่งกำหนดโดย IUCN พบว่า ทุกชนิดถูกจัดสถานภาพ อยู่ในกลุ่มชนิดที่เป็นที่กังวลน้อยที่สุด (Least concerned) ส่วนการกำหนดสถานภาพโดยสำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทุกชนิดยังไม่ได้รับการกำหนดสถานภาพ และการกำหนด สถานภาพตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พบว่า คางคกแคระ (Ingerophrynus parvus) ถูกกำหนดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ส่วนอีก 5 ชนิดยังไม่ได้รับการกำหนดสถานภาพ (สัตว์ป่านอก ประเภท) 4) สัตว์เลื้อยคลาน สถานภาพซึ่งกำหนดโดย IUCN พบว่า ส่วนใหญ่9 ชนิด ยังไม่ได้ รับการกำหนดสถานภาพ โดยมี 5 ชนิด ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มชนิดที่เป็นที่กังวลน้อยที่สุด (Least concerned) เช่น งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (Cryptelytrops albolabris) เหี้ย (Varanus salvator) งูเหลือม (Python reticulates) เป็นต้น และมี1 ชนิด ถูกจัดอยู่ในกลุ่มชนิดที่เป็นที่ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) ได้แก่ เต่าเหลือง (Indetastudo elongata) ส่วนการกำหนดสถานภาพโดยสำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากร ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม สัตว์ป่าทุกชนิดยังไม่ได้รับการกำหนดสถานภาพ ส่วนการกำหนดสถานภาพตามพระราชบัญญัติ สงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พบชนิดที่ถูกจัดสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง 5 ชนิด เช่น เต่าเหลือง


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above