Page 71

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

59 (Indetastudo elongata) เหี้ย (Varanus salvator) งูเหลือม (Python reticulates) กิ้งก่าหัวแดง (Calotes versicolor) เป็นต้น ส่วนชนิดที่เหลืออีก 10 ชนิด ยังไม่ได้รับการกำหนดสถานภาพ (สัตว์ป่านอกประเภท) 5.6 ทรัพยากรน้ำ 5.6.1 ปริมาณน้ำ การพิจารณาข้อมูลปริมาณน้ำในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา พิจารณาทั้งศักยภาพการ ให้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำ ปริมาณการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำ โดยลุ่มน้ำบางตราน้อยมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่2 อ่าง คือ บ่อพักน้ำเขากระปุก และอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด ส่วนลุ่มน้ำห้วยทราย มีอ่างเก็บน้ำห้วยทราย และ การประเมินความต้องการใช้น้ำ ซึ่งการศึกษาด้านปริมาณน้ำในแหล่งเก็บน้ำ ใช้ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ที่รวบรวมโดยกรมชลประทาน ซึ่งเป็นข้อมูลในช่วงปี พ.ศ.2552–2558 ส่วนการศึกษาปริมาณน้ำของทั้งพื้นที่ ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย เนื่องจากไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลของลำน้ำธรรมชาติในทั้งสอง พื้นที่ลุ่มน้ำ การวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณน้ำ จึงใช้วิธีการเปรียบเทียบกับพื้นที่ลุ่มน้ำที่อยู่ใกล้เคียงในลุ่มน้ำ เพชรบุรี และนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดพื้นที่ลุ่มน้ำ และปริมาณน้ำท่า ทั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณน้ำท่า หรือศักยภาพการให้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำโดยใช้ สมการประเมินปริมาณน้ำท่าของลุ่มน้ำเพชรบุรี ซึ่งกรมชลประทานได้วิเคราะห์จากความสัมพันธ์ระหว่างขนาด พื้นที่ลุ่มน้ำ และปริมาณน้ำท่าของลุ่มน้ำต่าง ๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรี(กรมชลประทาน, 2552) โดยได้รวบรวม ข้อมูลจาก 11 สถานี และสร้างความสัมพันธ์เชิงเส้นในรูปสมการถดถอย ดังนี้ โดยที่ Q = ปริมาณน้ำท่า (ล้าน ลบ.ม.) A = ขนาดพื้นที่ (ตร.กม.) จากสมการความสัมพันธ์ระหว่างขนาดพื้นที่ และปริมาณน้ำ นำไปคำนวณปริมาณ น้ำท่า เฉลี่ยรายปีของลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย โดยที่ Aบางตราน้อย = 64.10 ตารางกิโลเมตร และ Aห้วยทราย = 19.51 ตารางกิโลเมตร เมื่อได้ค่าปริมาณน้ำท่าของแต่ละลุ่มน้ำแล้วนำไปเทียบกับปริมาณน้ำท่า ของลุ่มน้ำเพชรบุรี เพื่อพิจารณาสัดส่วนของปริมาณน้ำท่ารายเดือน และวิเคราะห์Hydrograph ของแต่ละ พื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา ซึ่งมีรายละเอียดผลการศึกษา (ตารางที่ 7 และตารางที่ 8 และภาพที่ 31 และภาพที่ 32) อธิบายได้ดังนี้


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above