Page 76

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

64 โดยเฉพาะกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งสภาพอากาศที่มีแนวโน้มฝนตกน้อยลง และ อุณหภูมิอากาศเพิ่มสูงขึ้น จึงคาดการณ์สถานการณ์ปัญหาด้านทรัพยากรน้ำที่จะมีปริมาณไม่เพียงพอกับความ ต้องการในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคการ ท่องเที่ยว และบริการต่าง ๆ รวมทั้งการใช้น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ 5.6.2 การเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำ บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษามีอ่างเก็บน้ำซึ่งอยู่ในระบบอ่างพวง ประกอบด้วย อ่างเก็บ น้ำห้วยตะแปด บ่อพักน้ำเขากระปุก และอ่างเก็บน้ำห้วยทราย ซึ่งในการศึกษานี้ ได้นำข้อมูลปริมาณน้ำในอ่าง เก็บน้ำที่รวบรวมโดยกรมชลประทานเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณน้ำของอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ศึกษา โดยลุ่มน้ำบางตราน้อยมีอ่างเก็บน้ำ 2 อ่าง ได้แก่ บ่อพักน้ำเขากระปุก และอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด ส่วนลุ่มน้ำ ห้วยทรายมีอ่างเก็บน้ำห้วยทราย ทั้งนี้ ทำการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ.2552–2558 ซึ่งจากการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล มีรายละเอียดผลการศึกษา ดังนี้ 1) อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด ขนาดความจุ4 ล้านลูกบาศก์เมตร (ภาพที่ 33) เป็นหนึ่งในอ่างเก็บน้ำในระบบอ่างพวงที่ส่งน้ำต่อไปยังบ่อพักน้ำเขากระปุก และอ่างเก็บน้ำห้วยทราย ซึ่งเป็น ข้อมูลที่เฉลี่ยเป็นรายเดือนจากการรวบรวมข้อมูลโดยกรมชลประทานระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึงเดือนตุลาคม 2558 (ตารางที่ 10) พบว่า ช่วงเดือนที่มีปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำมากอยู่ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึง กุมภาพันธ์ของปี ซึ่งช่วงดังกล่าวเป็นช่วงปลายฤดูฝน มีปริมาณน้ำฝนตามธรรมชาติลดน้อยลง และเป็นช่วงที่มี กิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว และการทำเกษตรกรรม ทำให้ความต้องการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น มีน้ำถูก ส่งมาเก็บกักในอ่างเก็บน้ำมากขึ้น ทั้งนี้ จากการพิจารณาข้อมูลในช่วงปลายปีพ.ศ.2553 ถึงต้นปีพ.ศ.2554 และช่วงปลายปีพ.ศ.2556 ถึงต้นปีพ.ศ.2557 พบว่า มีปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำสูงขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่ง แสดงถึงมีการเติมน้ำลงมาในอ่างเก็บน้ำเพิ่มมากขึ้นแต่ก็ยังเหลือความจุของอ่างเก็บน้ำอีกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ที่สามารถจะเก็บกักน้ำได้ รวมทั้งเมื่อพิจารณาการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำมีปริมาณน้อยมาก คิดเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของความจุของอ่างเก็บน้ำ เท่านั้น นอกจากนั้น จากข้อมูลปริมาณน้ำเก็บกักที่รวบรวมในช่วงปีพ.ศ.2552-2558 พบว่า มีหลายช่วงเวลาที่ มีปริมาณเก็บกักในอ่างเก็บน้ำน้อยมาก 2) บ่อพักน้ำเขากระปุก บ่อพักน้ำเขากระปุก ขนาดความจุ0.312 ล้านลูกบาศก์เมตร (ภาพที่ 34) รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดโดยผ่านระบบคลองส่งน้ำ ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วย ทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จากข้อมูลปริมาณน้ำ พบว่า ช่วงเดือนที่มีปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำ มากอยู่ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ของปีส่วนลักษณะการเก็บกักน้ำจะคล้ายคลึงกับข้อมูล ของอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด (ตารางที่ 11) จากข้อมูลโครงการเครือข่ายอ่างเก็บน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักชลประทานที่ 14 กรมชลประทาน) พบว่า มีพื้นที่เกษตรกรรม 7.68 ตารางกิโลเมตร และอีก168 ครัวเรือน ที่ได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด ส่วนบ่อพักน้ำเขากระปุกมีพื้นที่เกษตรกรรม 0.48 ตารางกิโลเมตร 60 ครัวเรือน ที่จะได้รับประโยชน์จากบ่อพักน้ำเขากระปุก


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above