Page 77

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

65 3) อ่างเก็บน้ำห้วยทราย อ่างเก็บน้ำห้วยทราย ขนาดความจุ1.95 ล้านลูกบาศก์เมตร (ภาพที่ 35) รับน้ำมาจากบ่อพักน้ำเขากระปุกโดยระบบท่อส่งน้ำ จากข้อมูลปริมาณน้ำ พบว่า ช่วงเดือนที่มีปริมาณน้ำเก็บ กักในอ่างเก็บน้ำมากอยู่ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ของปีส่วนลักษณะการเก็บกักน้ำจะ คล้ายคลึงกับข้อมูลของอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด และบ่อพักน้ำเขากระปุก (ตารางที่ 12) สำหรับอ่างเก็บน้ำห้วย ทราย มีพื้นที่เกษตรกรรม 4 ตารางกิโลเมตร และครัวเรือนจำนวน 123 ครัวเรือน ที่ได้รับประโยชน์จากอ่าง เก็บน้ำห้วยทราย ภาพที่ 36 เปรียบเทียบปริมาณน้ำเก็บกักของอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด บ่อพักน้ำเขา ประปุก และอ่างเก็บน้ำห้วยทราย ซึ่งจากข้อมูล พบว่า ช่วงตั้งแต่ประมาณเดือนตุลาคมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นช่วงที่มีปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำสูงที่สุด ซึ่งช่วงดังกล่าวเป็นช่วงปลายของฤดูฝน ปริมาณ น้ำฝนลดน้อยลง รวมทั้งน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติก็ลดลง ทำให้มีการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำอื่น ๆ มาเติมลงในอ่าง เก็บน้ำ ทั้งนี้ การใช้น้ำของพื้นที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็น แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และช่วงปลายปีเป็นช่วงที่มีกิจกรรมรองรับการท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก น้ำจากแหล่ง น้ำต่าง ๆ จึงถูกนำมาใช้เพื่อรองรับกิจกรรมทั้งจากการท่องเที่ยว การใช้น้ำในครัวเรือน รวมทั้งการเกษตรกรรม เพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลพบว่า ปริมาณน้ำที่เก็บกักในแต่ละพื้นที่มีปริมาณเหลือต่ำกว่าความจุของอ่างทั้งสามแห่ง และจากการสำรวจภาคสนามในช่วงของการทำวิจัยครั้งนี้ พบว่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งสามแห่งนี้มี ปริมาณลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำห้วยทราย ซึ่งมีปริมาณน้ำลดลงจนเหลือน้อยมาก


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above