72 โดยมีค่า 3.60 mg./l ส่วนข้อมูลคุณภาพน้ำในช่วงฤดูฝน พบว่า ดัชนีคุณภาพน้ำเกือบทั้งหมดไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่ค่าความสกปรกในรูปบีโอดี มีค่าสูง และเกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำ โดยมีค่า 9.0 mg./l ซึ่งสอดคล้องกับ ค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ซึ่งมีค่าสูงขึ้น 8) จุดเก็บตัวอย่างบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยไทรงาม พิกัดจุดเก็บตัวอย่าง 575874N และ 1312720E สภาพบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำมีทั้งสภาพที่เป็นป่าธรรมชาติ(ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) พื้นที่ ชุมชน และพื้นที่เกษตรกรรม ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในช่วงฤดูร้อน พบว่า ค่าดัชนีคุณภาพน้ำเกือบ ทั้งหมดไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประเภทที่ 3 แต่มีค่าความสกปรกในรูปบีโอดี(BOD) สูงเกินค่ามาตรฐาน โดยมีค่า 3.90 mg./l ส่วนข้อมูลคุณภาพน้ำในช่วงฤดูฝน พบว่า ดัชนีคุณภาพน้ำเกือบ ทั้งหมดไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่ค่าความสกปรกในรูปบีโอดี มีค่าสูง และเกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำ โดยมีค่า 7.0 mg./l ซึ่งสอดคล้องกับค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ซึ่งมีค่าสูงขึ้น 9) จุดเก็บตัวอย่างบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยทราย (หุบกะพง) รับน้ำจากการผันน้ำมาจาก อ่างเก็บน้ำทุ่งขามโดยระบบท่อผันน้ำ พิกัดจุดเก็บตัวอย่าง 598046N และ 1410950E สภาพบริเวณรอบอ่าง เก็บน้ำมีทั้งสภาพที่เป็นป่าธรรมชาติ(ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) พื้นที่เกษตรกรรมประเภทไม้ผลยืนต้น สับปะรด และพืชไร่อื่น ๆ พื้นที่ชุมชน และพื้นที่ป่าปลูกฟื้นฟู ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในช่วงฤดูร้อน พบว่า ค่าดัชนีคุณภาพน้ำเกือบทั้งหมดไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประเภทที่ 3 แต่มีค่าความ สกปรกในรูปบีโอดี(BOD) สูงเกินค่ามาตรฐาน โดยมีค่า 4.90 mg./l ส่วนข้อมูลคุณภาพน้ำในช่วงฤดูฝน พบว่า ดัชนีคุณภาพน้ำเกือบทั้งหมดไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่ค่าความสกปรกในรูปบีโอดี มีค่าสูง และเกินค่ามาตรฐาน คุณภาพน้ำ โดยมีค่าสูงถึง 30.0 mg./l ซึ่งสอดคล้องกับค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์ม แบคทีเรีย ซึ่งมีค่าสูงขึ้น จากข้อมูลคุณภาพน้ำในแต่ละจุดเก็บตัวอย่างซึ่งพิจารณาเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำบางตรา น้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย เปรียบเทียบในแต่ละช่วงฤดูของดัชนีคุณภาพน้ำในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ จากการเก็บ ตัวอย่าง และตรวจวัดคุณภาพน้ำ พบว่า ช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงที่มีน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ สูงกว่าในช่วงฤดูฝน สำหรับผลการศึกษาคุณภาพน้ำผิวดิน (ภาพที่ 37) มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ 1) ลุ่มน้ำบางตราน้อย มีจุดตรวจวัด และเก็บตัวอย่างน้ำ 4 จุด ประกอบด้วยบริเวณ จุด Outlet ลุ่มน้ำบางตราน้อย บ่อน้ำในอุทยานฯ สิรินธร บ่อพักน้ำเขากระปุก และอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด มี รายละเอียดผลการตรวจวัดของแต่ละพื้นที่ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างช่วงฤดูร้อน (เมษายน 2558) และฤดูฝน (สิงหาคม 2558) ดังนี้ (1) บริเวณจุด outlet ลุ่มน้ำบางตราน้อย ในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ สิรินธร ซึ่งเป็นทางน้ำที่ไหลผ่านพื้นที่สวนป่าชายเลนทูลกระหม่อมลงสู่ทะเล เป็นบริเวณที่ทั้งในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน มีค่าการนำไฟฟ้า ค่าความเค็ม ค่าปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมด และค่าความกระด้างสูงกว่า จุดตรวจวัดอื่น ๆ ส่วนค่าดัชนีคุณภาพน้ำอื่น ๆ ที่มีค่าเกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน (ประเภท 3) ได้แก่ ค่า BOD ทั้งในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน ที่มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐาน และดัชนีที่มีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ได้แก่ ค่า DO ในช่วงฤดูฝน และพบค่าปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรียมีค่า สูงขึ้นในช่วงฤดูฝน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ค่าดัชนีคุณภาพน้ำอื่น ๆ ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above