Page 83

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

71 มาตรฐาน โดยมีค่า 10.00 mg./l ส่วนข้อมูลคุณภาพน้ำในช่วงฤดูฝน พบว่า ดัชนีคุณภาพน้ำเกือบทั้งหมดไม่ เกินค่ามาตรฐาน แต่ค่าความสกปรกในรูปบีโอดี มีค่าสูง และเกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำ โดยมีค่าสูงถึง 24.0 mg./l ซึ่งสอดคล้องกับค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ซึ่งมีค่าสูงขึ้น รวมทั้งค่า ความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำ ซึ่งมีค่าเป็นด่างเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น พบว่า ค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ (Dissolved oxygen; DO) มีค่าสูง โดยมีค่า 11.01 mg./l 4) จุดเก็บตัวอย่างบริเวณบ่อพักน้ำเขากระปุก ในพื้นที่ศูนย์ฯ ห้วยทราย รับน้ำจาก อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดโดยคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา พิกัดจุดเก็บตัวอย่าง 597929N และ 1404817E สภาพ บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำมีทั้งสภาพที่เป็นป่าธรรมชาติ(ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) ป่าปลูกฟื้นฟู และพื้นที่ ทดลองของศูนย์ฯ ห้วยทราย ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในช่วงฤดูร้อน พบว่า ค่าดัชนีคุณภาพน้ำเกือบทั้งหมด ไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประเภทที่ 3 แต่มีค่าความสกปรกในรูปบีโอดี(BOD) สูงเกิน ค่ามาตรฐาน โดยมีค่า 8.00 mg./l ส่วนข้อมูลคุณภาพน้ำในช่วงฤดูฝน พบว่า ดัชนีคุณภาพน้ำเกือบทั้งหมดไม่ เกินค่ามาตรฐาน แต่ค่าความสกปรกในรูปบีโอดี มีค่าสูง และเกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำ โดยมีค่าสูงถึง 18.0 mg./l ซึ่งสอดคล้องกับค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ซึ่งมีค่าสูงขึ้น 5) จุดเก็บตัวอย่างบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด รับน้ำจากการผันน้ำมาจากอ่างเก็บ น้ำทุ่งขาม และเชื่อมโยงไปยังบ่อพักน้ำเขากระปุกโดยระบบคลองส่งน้ำ และผันต่อไปยังอ่างเก็บน้ำห้วยทราย โดยระบบท่อผันน้ำพิกัดจุดเก็บตัวอย่าง 596722N และ 1405991E สภาพบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำมีทั้งสภาพที่ เป็นป่าธรรมชาติ(ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) ป่าปลูกฟื้นฟู(ยูคาลิปตัส กระถินยักษ์) พื้นที่ชุมชน และพื้นที่ เกษตรกรรมประเภทไม้ผลยืนต้น สับปะรด และพืชไร่อื่น ๆ ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในช่วงฤดูร้อน พบว่า ค่าดัชนีคุณภาพน้ำเกือบทั้งหมดไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประเภทที่ 3 แต่มีค่าความ สกปรกในรูปบีโอดี(BOD) สูงเกินค่ามาตรฐาน โดยมีค่า 7.70 mg./l ส่วนข้อมูลคุณภาพน้ำในช่วงฤดูฝน พบว่า ดัชนีคุณภาพน้ำเกือบทั้งหมดไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่ค่าความสกปรกในรูปบีโอดี มีค่าสูง และเกินค่ามาตรฐาน คุณภาพน้ำ โดยมีค่าสูงถึง 23.0 mg./l ซึ่งสอดคล้องกับค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์ม แบคทีเรีย ซึ่งมีค่าสูงขึ้น 6) จุดเก็บตัวอย่างบริเวณอ่างเก็บน้ำบ้านทุ่งขาม รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตาย โดย ระบบท่อลอด และเชื่อมโยงไปยังอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด และอ่างเก็บน้ำห้วยทรายหุบกะพงโดยระบบท่อผันน้ำ พิกัดจุดเก็บตัวอย่าง 582964N และ 1397631E สภาพบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำมีทั้งสภาพที่เป็นป่าธรรมชาติ (ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) พื้นที่ชุมชน และพื้นที่เกษตรกรรมประเภทไม้ผลยืนต้น สับปะรด มันสำปะหลัง และพืชไร่อื่น ๆ ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในช่วงฤดูร้อน พบว่า ค่าดัชนีคุณภาพน้ำเกือบทั้งหมดไม่เกินค่า มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประเภทที่ 3 แต่มีค่าความสกปรกในรูปบีโอดี(BOD) สูงเกินค่า มาตรฐาน โดยมีค่า 4.30 mg./l ส่วนข้อมูลคุณภาพน้ำในช่วงฤดูฝน พบว่า ดัชนีคุณภาพน้ำเกือบทั้งหมดไม่เกิน ค่ามาตรฐาน แต่ค่าความสกปรกในรูปบีโอดี มีค่าสูง และเกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำ โดยมีค่าสูงถึง 16.0 mg./l ซึ่งสอดคล้องกับค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ซึ่งมีค่าสูงขึ้น 7) จุดเก็บตัวอย่างบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตาย รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไทรงาม โดย ระบบท่อผันน้ำ และเชื่อมโยงไปยังอ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตายโดยระบบท่อลอด พิกัดจุดเก็บตัวอย่าง 582035N และ 1394763E สภาพบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำมีทั้งสภาพที่เป็นป่าธรรมชาติ(ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) ป่า ปลูกฟื้นฟู (ยูคาลิปตัส กระถินยักษ์ ประดู่ สะเดา) พื้นที่ชุมชน พื้นที่ของหน่วยงานราชการ และพื้นที่ เกษตรกรรม ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในช่วงฤดูร้อน พบว่า ค่าดัชนีคุณภาพน้ำเกือบทั้งหมดไม่เกินค่า มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประเภทที่ 3 แต่มีค่าความสกปรกในรูปบีโอดี(BOD) สูงเกินค่ามาตรฐาน


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above