Page 87

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

75 ภาพที่ 37 (ต่อ) ทั้งนี้ จุดเก็บตัวอย่างบริเวณนี้เป็นแหล่งน้ำเค็มจึงทำให้มีอนุภาคของสารในน้ำทะเล เช่น แคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียม เป็นต้น จึงทำให้มีค่าการนำไฟฟ้า ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำ และค่าความกระด้างมีค่าสูง ส่วน ค่า BOD ที่มีค่าสูงนั้น แสดงถึงปริมาณการใช้ออกซิเจนโดยสิ่งมีชีวิตในน้ำ (แบคทีเรีย) ซึ่งค่าที่สูงนี้แสดงถึงการ มีสิ่งมีชีวิตในน้ำจำนวนมาก หรือการเน่าสลายของอินทรียวัตถุต่าง ๆ โดยแบคทีเรีย ซึ่งโดยทั่วไปใช้ในการวัด ค่าความสกปรกของน้ำ ค่าที่สูงแสดงถึงน้ำมีความสกปรกมาก แต่อย่างไรก็ตาม ค่าก็ไม่สูงมาก ส่วนค่า DO ที่ ลดลงในช่วงฤดูฝนนั้น อาจเกิดจากหลายสาเหตุทั้งจากการหายใจของสัตว์น้ำ พืชน้ำ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในน้ำ การเน่าสลายของอินทรียวัตถุต่าง ๆ โดยแบคทีเรีย กระบวนการทางชีวเคมีในการ oxidized สารอินทรีย์ คาร์บอนในน้ำ ปฏิกิริยาชีวเคมีในการ oxidized สารอินทรีย์ไนโตรเจนในน้ำ และอาจเกิดจากสารเคมีที่ ต้องการออกซิเจนอย่างฉับพลัน เช่น sulfide เป็นต้น


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above