Page 88

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

76 (2) บริเวณบ่อน้ำในอุทยานฯ สิรินธร ในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ สิรินธร เป็นบ่อน้ำที่รับน้ำมาจากคลองบางตราน้อย และคลองตราใหญ่ ก่อนที่น้ำจะไหลผ่านบ่อน้ำอื่น ๆ ใน พื้นที่อุทยานฯ สิรินธร ผ่านไปยังพื้นที่ป่าชายเลน ค่าการตรวจวัด พบว่า ค่าดัชนีที่สูงเกินค่ามาตรฐานทั้งในช่วง ฤดูร้อน และฤดูฝน คือ ค่า BOD ซึ่งแสดงถึง มีการใช้ออกซิเจนโดยสิ่งมีชีวิตในน้ำ (แบคทีเรีย) ซึ่งค่าที่สูงนี้ แสดงถึงการมีสิ่งมีชีวิตในน้ำจำนวนมาก หรืออาจเกิดจากการเน่าสลายของอินทรียวัตถุต่าง ๆ โดยแบคทีเรีย ซึ่งในช่วงฤดูร้อนที่ยังมีปริมาณน้ำมากมีค่าต่ำกว่าช่วงฤดูฝน เนื่องจากบริเวณโดยรอบแหล่งน้ำมีธูปฤาษีขึ้นอยู่ อย่างหนาแน่น รวมทั้งสาหร่ายน้ำมีอยู่จำนวนมากในบ่อน้ำ นอกจากนั้น ค่า BOD ในช่วงฤดูฝน มีค่าสูงกว่า ในช่วงฤดูร้อน ซึ่งเกิดจากสภาพที่นำในช่วงที่ไปเก็บตัวอย่างนั้นลดลงมาก จึงมีการเน่าสลายของอินทรียวัตถุ ต่าง ๆ จำนวนมาก แต่ก็มีพืช และสิ่งมีชีวิตในน้ำที่มีการใช้ และปลดปล่อยออกซิเจนออกมาด้วย จึงทำให้ทั้งค่า BOD และ DO มีค่าสูง และพบค่าปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรียมีค่า สูงขึ้นในช่วงฤดูฝน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ค่าดัชนีคุณภาพน้ำอื่น ๆ ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (3) บริเวณบ่อพักน้ำเขากระปุก บริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ เป็น บ่อพักน้ำที่รับน้ำมาจากอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดซึ่งจะส่งน้ำต่อไปยังอ่างเก็บน้ำห้วยทราย ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วย ทรายที่อยู่ตอนล่างลงไป ค่าการตรวจวัดคุณภาพน้ำ พบว่า ค่าดัชนีที่สูงเกินค่ามาตรฐานทั้งในช่วงฤดูร้อน และ ฤดูฝน คือ ค่า BOD ซึ่งแสดงถึง มีการใช้ออกซิเจนโดยสิ่งมีชีวิตในน้ำ (แบคทีเรีย) ซึ่งค่าที่สูงนี้แสดงถึงการมี สิ่งมีชีวิตในน้ำจำนวนมาก หรืออาจเกิดจากการเน่าสลายของอินทรียวัตถุต่าง ๆ โดยแบคทีเรีย แต่ในช่วงฤดู ร้อนก็ไม่สูงมาก ส่วนช่วงฤดูฝนมีค่าสูงขึ้น และพบค่าปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์ม แบคทีเรียมีค่าสูงขึ้นในช่วงฤดูฝน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ค่าดัชนีคุณภาพน้ำอื่น ๆ ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (4) บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด บริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ เป็นอ่างเก็บน้ำที่รับน้ำมาจากอ่างเก็บน้ำทุ่งขามซึ่งจะส่งน้ำต่อไปยังบ่อพักน้ำเขากระปุกที่อยู่ตอนล่างลงไป ค่า การตรวจวัดคุณภาพน้ำ พบว่า ค่าดัชนีที่สูงเกินค่ามาตรฐานทั้งในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน คือ ค่า BOD ซึ่งแสดง ถึง มีการใช้ออกซิเจนโดยสิ่งมีชีวิตในน้ำ (แบคทีเรีย) ซึ่งค่าที่สูงนี้แสดงถึงการมีสิ่งมีชีวิตในน้ำจำนวนมาก หรือ อาจเกิดจากการเน่าสลายของอินทรียวัตถุต่าง ๆ โดยแบคทีเรีย แต่ช่วงฤดูร้อนค่าก็ไม่สูงมาก ส่วนช่วงฤดูฝนมี ค่าสูงขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากปริมาณน้ำที่ลดลง รวมทั้งมีการย่อยสลายเศษซากพืชต่าง ๆ และการเลี้ยงปศุสัตว์ที่ ใช้ประโยชน์โดยรอบอ่างเก็บน้ำ และพบค่าปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย มีค่าสูงขึ้นในช่วงฤดูฝน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ค่าดัชนีคุณภาพน้ำอื่น ๆ ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 2) ลุ่มน้ำห้วยทราย มีจุดตรวจวัด และเก็บตัวอย่างน้ำจุดเดียว บริเวณอ่างเก็บน้ำ ห้วยทราย ซึ่งผลการตรวจวัด พบว่า ค่าดัชนีที่สูงเกินค่ามาตรฐานทั้งในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน คือ ค่า BOD ซึ่ง แสดงถึง มีการใช้ออกซิเจนโดยสิ่งมีชีวิตในน้ำ (แบคทีเรีย) ซึ่งค่าที่สูงนี้แสดงถึงการมีสิ่งมีชีวิตในน้ำจำนวนมาก หรืออาจเกิดจากการเน่าสลายของอินทรียวัตถุต่าง ๆ โดยแบคทีเรีย แต่ช่วงฤดูร้อนค่าก็ไม่สูงมาก ส่วนช่วงฤดู ฝนมีค่าสูงขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากปริมาณน้ำที่ลดลง รวมทั้งมีการย่อยสลายเศษซากพืชต่าง ๆ นอกจากนั้น กิจกรรมการประมง และการเลี้ยงปศุสัตว์ที่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำก็อาจส่งผลต่อคุณภาพน้ำได้ อย่างไร ก็ตาม ในช่วงฤดูฝน ยังพบว่า ค่า DO มีค่าสูง ซึ่งอาจเกิดจากการมีพืชน้ำ สิ่งมีชีวิตในน้ำ หรือปฏิกิริยาทางเคมี บางอย่างที่ทำให้ปริมาณออกซิเจนสูงขึ้น และพบค่าปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์ม แบคทีเรียมีค่าสูงขึ้นในช่วงฤดูฝน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ค่าดัชนีคุณภาพน้ำอื่น ๆ ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above