77 5.7 การระดมความคิดเห็นเพื่อนำเสนอแผนการจัดการแบบบูรณาการ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรได้ประชุมระดมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่ เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ได้โดยเชิญหน่วยราชการต่าง ๆ ทั้งจากส่วนกลาง และในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่โครงการ โดยมีการประชุมทั้งหมด 4 ครั้ง ซึ่งสรุป รายละเอียดได้ ดังนี้ (ภาพการประชุมฯ แสดงในภาคผนวกที่ 8) 5.7.1 การประชุมครั้งที่ 1 1) รายละเอียดการประชุม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ ดำเนินการประชุมปรึกษาหารือเพื่อสร้างภาคีความร่วมมือดำเนินโครงการเชิงบูรณาการ การวิจัย และการ จัดการความรู้เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรณีศึกษาพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และลุ่มน้ำเพชรบุรีเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 8:30 -16:30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่าย พระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีเพื่อนำเสนอให้ทราบว่าทางอุทยานฯ มีโครงการวิจัยเรื่องต่าง ๆ ที่จะ มาดำเนินการในพื้นที่ โดยกำหนดเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย ซึ่งครอบคลุมบริเวณ อุทยานฯ สิรินธร และศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยในการประชุมฯ ดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมการประชุมประมาณ 80 ท่าน ทั้ง หัวหน้าหน่วยงานราชการ ประธานชุมชน และประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำ โดย ดร.มณทิพย์ศรีรัตนา ทาบูกานอน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ งานวิจัย และการขับยุทธศาสตร์การ วิจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ชี้แจงความเป็นมาของ โครงการฯ และความสำคัญในการเตรียมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การตั้งรับปรับตัวบนฐานข้อมูลความรู้ และ การบูรณาการมิติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับการจัดการลุ่มน้ำบนฐานระบบนิเวศ ทั้งนี้ เป็นการ ประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ ซึ่งทำงานลักษณะของการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน โดยมี การประชุมปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานในประเทศ และต่างประเทศ มีการสำรวจพื้นที่ เป้าหมาย และพื้นที่ต่อเนื่องกับพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร 2) ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุม (1) การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินเบื้องต้นพร้อมสำรวจ พื้นที่ในภาคสนาม (2) การศึกษาทรัพยากรป่าไม้ทั้งชนิด และสังคมของพืช และทำให้ทราบถึงชนิด ของสัตว์ป่า และการกระจายตัวของสัตว์ป่าในพื้นที่ด้วย โดยทั้งหมดเป็นการประเมินสถานภาพในปัจจุบัน และ พิจารณาผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะนิเวศวิทยาที่เกี่ยวข้อง (3) การศึกษาทรัพยากรน้ำ ทำการสำรวจทรัพยากรน้ำทั้งในช่วงฤดูแล้ง และฤดู ฝน เพื่อเปรียบเทียบพร้อมทั้งประเมินความเพียงพอต่อการใช้น้ำ และเรื่องปัญหาที่เกิดจากการใช้น้ำในพื้นที่ วิจัย (4) การจัดประชุมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในโอกาสต่อไป
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above