Page 91

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

79 มากที่สุด และมีอ่างเก็บน้ำในตำบลถึง 5 แห่ง โดยใช้กรอบแนวคิดทั้ง 2 ด้าน คือ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ไปและการกระทำโดยน้ำมือมนุษย์ ทั้งนี้ พบว่า ได้มีการผันน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีศักยภาพ มีการสร้างสนาม กอล์ฟ และน้ำถูกดึงไปใช้เป็นส่วนใหญ่ มีการผันน้ำลดลง เนื่องจากมีความต้องการน้ำเพิ่มขึ้น ฝนน้อยลง น้ำใน อ่างเก็บน้ำน้อยลง อุณหภูมิของโลกก็สูงขึ้น 2) ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุม จากการระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม มีประเด็นที่เป็นข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ประกอบด้วย (1) คุณสมใจ น้อยสอาด ประธานชุมชนห้วยทรายเหนือ ร่วมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับความเป็นมาเกี่ยวกับแหล่งน้ำในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรี โดยอาศัยประสบการณ์ในฐานะที่เป็นคน พื้นที่ และได้ถ่ายทอดประสบการณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรป่าไม้ และน้ำให้ผู้ร่วมประชุมได้เข้าใจใน รายละเอียดของสภาพพื้นที่มากขึ้น (2) คุณนรินทร์ เผ่าลือ ประธานชุมชนบ้านบ่อพุทรา ให้ความคิดเห็นว่า เห็น ด้วยกับแนวความคิดแบบที่ 2 คือ เน้นตั้งหลักอย่างยั่งยืน เนื่องจากเป็นการกำหนดแนวทางเพื่อทุกคน และ เพื่อส่วนรวม โดยให้รายละเอียดปัญหาเรื่องแหล่งน้ำโดยมีอ่างเก็บน้ำแต่ว่าไม่มีน้ำเก็บกัก (3) รศ.ดร.สามัคคีบุณยะวัฒน์ผู้ร่วมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ ให้ความคิดว่าเห็นด้วยกับรูปแบบที่ 2 แต่จะทำอย่างไรถึงจะดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากประเด็น ต่าง ๆ มีหลากหลายบริบท การพิจารณาประเด็นเพียงด้านใดด้านหนึ่งอาจไม่เพียงพอ ต้องพิจารณาร่วมกันทั้ง ในมิติของทรัพยากร และมิติทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งต้องเข้าใจแนวคิดของการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำ โดยต้องช่วยกันคิดหาวิธีการ รวมทั้งให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าใจมุมมองด้านการจัดการลุ่มน้ำที่พิจารณาประเด็น น้ำเป็นสำคัญ เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษาทั้งสองลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย อยู่ใน เขตเงาฝน (Rain shadow) ซึ่งมีฝนตกน้อย ดินไม่กักเก็บน้ำ ขาดความอุดมสมบูรณ์จึงต้องหาวิธีการจัดการให้ เหมาะสม (4) คุณนิวัฒน์มั่นหมาย ทสม.เพชรบุรี แสดงความคิดเห็นว่า ทำอย่างไรถึงจะอยู่ ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ทำอย่างไรจึงจะมีศักยภาพพอที่จะอยู่รอดได้ โดยสถานการณ์น้ำในปัจจุบันนี้ แหล่งน้ำของเพชรบุรีอาศัยน้ำจากป่าแก่งกระจานเพียงแห่งเดียว ควรจะมีการจัดการทางอื่นด้วย และจัดการ อย่างไรได้บ้าง 5.7.4 การประชุมครั้งที่ 4 1) รายละเอียดการประชุม การจัดประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นในการจัดทำแผนการจัดการลุ่มน้ำใน อนาคต (ด้านทรัพยากรป่าไม้ และน้ำ) โครงการ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง ดำเนินการเมื่อวันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2559 เวลา 09.00–13.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ ค่ายสิ่งแวดล้อม นานาชาติ(ห้องประชุม สสวท.) อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัด เพชรบุรี โดยมีหน่วยงานราชการ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น ประธานชุมชน และประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ลุ่ม น้ำศึกษาเข้าร่วมประมาณ 40 ท่าน ประเด็นสำคัญที่ได้จากการระดมความคิดเห็น พบว่า ไม่มีแผนการบริหาร จัดการทรัพยากรแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานท้องถิ่น และประชาชน นอกจากนี้ ประชาชนยัง ไม่ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องทั้งในด้านเชิงวิชาการ และโครงสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above