Page 92

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

80 ขาดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในการแก้ปัญหาต่างๆ แบบบูรณาการร่วมกัน รวมทั้งมีการฝ่าฝืนกฎข้อบังคับ และไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย 2) ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุม ในครั้งนี้มีประเด็นข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นในด้านจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เสนอแนะโดยประชาชน และส่วนราชการในพื้นที่ เช่น กรมป่าไม้ กรม ชลประทาน กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง เป็นต้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (1) ส่งเสริมให้มีการปลูกจิตสำนึก และสร้างความเข้าใจ ให้ความรู้ที่ถูกต้อง แก่ประชาชนในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (2) เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประชาชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) มีการประชาสัมพันธ์แผนพัฒนาการปรับตัวต่อภัยแล้ง และแผนการบริหาร จัดการทรัพยากรให้ประชาชนในพื้นที่ได้ทราบ (4) มีความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐในการแก้ปัญหา และประชาชนควรขอ การสนับสนุนโครงการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (5) มีการบังคับใช้กฎระเบียบข้อบังคับอย่างเข้มงวด รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมาย อื่น ๆ รวมทั้งหาแนวทางในการจัดการทรัพยากรภายในท้องถิ่น เช่น การหาแหล่งพลังงานทดแทนเพื่อลดการ ตัดไม้ทำลายป่า การทำฝายชะลอน้ำในพื้นที่ต้นน้ำ การบังคับใช้กฎหมายต่อการนำพื้นที่ป่าสงวนไปใช้ผิด วัตถุประสงค์การสร้างทางระบายน้ำจากพื้นที่ป่าลงสู่แหล่งน้ำ เป็นต้น (6) ความกว้างของลำน้ำธรรมชาติควรมีการควบคุมไม่ให้มีการก่อสร้างขวางลำ น้ำ หรือผันน้ำให้พื้นที่ตนเอง 6. อภิปราย และวิจารณ์ผล 6.1 ข้อมูลทรัพยากรในพื้นที่ลุ่มน้ำ 6.1.1 ทรัพยากรป่าไม้ ข้อมูลการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย ซึ่ง ครอบคลุมพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จำแนกระบบนิเวศป่าไม้ออกเป็น 4 ระบบ ประกอบด้วย ระบบนิเวศป่าไม้(ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง) ระบบนิเวศป่าฟื้นฟูป่าปลูก หรือป่ารุ่นสอง ระบบนิเวศป่า ชายเลน และระบบนิเวศป่าชายเลน ซึ่งผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบกับรายงานการสำรวจที่ดำเนินการโดย คณะวนศาสตร์ ช่วงปีพ.ศ. 2550-51 โดยสำรวจในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ศูนย์ ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริและพื้นที่ใกล้เคียง พบว่า สภาพสังคมพืช และพรรณ พืชมีลักษณะ และชนิดไม่แตกต่างจากการสำรวจครั้งที่แล้ว โดยพื้นที่ป่าธรรมชาติพบบริเวณตอนบนของพื้นที่ ลุ่มน้ำ สภาพพื้นที่เป็นภูเขา ส่วนบริเวณที่เนิน และที่ราบลุ่ม เป็นพื้นที่ของป่ารุ่นสอง ป่าชายหาด และป่าชาย เลนที่พบในพื้นที่อุทยานฯ สิรินธร สำหรับข้อมูลความหลากหลายของพรรณพืชในแต่ละพื้นที่สำหรับการ สำรวจในครั้งนี้ ซึ่งเน้นพิจารณาในกลุ่มของพืชใบเลี้ยงคู่ พบไม่น้อยกว่า 100 ชนิด ทั้งที่เป็นไม้ใหญ่ยืนต้น ลูกไม้ หรือไม้หนุ่ม กล้าไม้ รวมทั้งไม้อื่น ๆ ทั้งไผ่ ปรง รวมทั้งวัชพืชต่าง ๆ ทั้งนี้ ข้อมูลด้านความหลากหลาย ของพรรณพืชที่ทำการสำรวจในพื้นที่ต่าง ๆ จากการสำรวจก่อนหน้านี้ มีรายงานการสำรวจพบพืชดอก 24 วงศ์48 สกุล 53 ชนิด ในสังคมพืชป่าชายเลน พบพืชดอก 36 วงศ์92 สกุล 99 ชนิด ในพื้นที่ป่าชายหาด และ


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above