Page 95

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

83 กับศักยภาพการให้น้ำของลุ่มน้ำเพื่อคำนวณปริมาณความต้องการน้ำ โดยคิดคำนวณจากประชากรที่เพิ่มขึ้นในแต่ละ ช่วงเวลา พบว่า ความต้องการน้ำของทั้งประชาชนในทั้งสองลุ่มน้ำในปีพ.ศ.2583 เพิ่มขึ้นเป็น 47.50 และ 25.54 ล้าน ลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 5 และ 9 เท่าของศักยภาพการให้น้ำของลุ่มน้ำ แสดงว่า ในอนาคตปัญหาเรื่องการขาด แคลนน้ำ และความแห้งแล้ง เป็นปัญหาที่สำคัญของทั้งสองพื้นที่ลุ่มน้ำ เนื่องจากอยู่ในเขตเงาฝน ทำให้มีปริมาณฝน รายปีน้อยกว่า 800 มิลลิเมตร รวมทั้งจากการศึกษาในเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่ พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่ป่าไม้มีแนวโน้มลดลง ส่วนพื้นที่ที่เป็นที่อยู่อาศัย และพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาต่าง ๆ โดยเฉพาะกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งสภาพอากาศที่มีแนวโน้มฝนตกน้อยลง เนื่องจากเป็น ช่วงเอลนิโย (แล้งฝน) และอุณหภูมิอากาศเพิ่มสูงขึ้น จึงคาดการณ์สถานการณ์ปัญหาด้านทรัพยากรน้ำที่จะมีปริมาณ ไม่เพียงพอกับความต้องการในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคการท่องเที่ยว และบริการต่าง ๆ รวมทั้งการใช้น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ 3) การเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษามีอ่างเก็บน้ำซึ่งอยู่ในระบบอ่างพวง ประกอบด้วย อ่าง เก็บน้ำห้วยตะแปด บ่อพักน้ำเขากระปุก และอ่างเก็บน้ำห้วยทราย โดยลุ่มน้ำบางตราน้อยมีพื้นที่เก็บน้ำ2 อ่าง ได้แก่ บ่อพักน้ำเขากระปุก และอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด ส่วนลุ่มน้ำห้วยทรายมีอ่างเก็บน้ำห้วยทราย ผลจากการรวบ รวม และวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ทั้งสามอ่างเก็บน้ำ มีลักษณะของการเก็บกักน้ำเหมือนกัน โดย ช่วงเดือนที่มีปริมาณน้ำ เก็บกักในอ่างเก็บน้ำมากอยู่ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ของปี ซึ่งช่วงเวลาดัง กล่าวเป็น ช่วงปลาย ฤดูฝน ปริมาณน้ำฝนตามธรรมชาติลดน้อยลง และเป็นช่วงที่มีกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว การทำ เกษตรกรรม และการใช้น้ำในครัวเรือน จึงมีการส่งน้ำลงมาเก็บในอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้น ในช่วงเวลาดังกล่าว ส่วนในช่วง ฤดูฝนเป็นการเก็บกักน้ำฝนตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาซึ่งมีการพัฒนาพื้นที่ และสร้าง กิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเฉพาะการ ท่องเที่ยว เกษตรกรรม และที่อยู่อาศัย ทำให้ความต้องการใช้น้ำมีมากขึ้น ทำให้อ่างเก็บน้ำทุกแห่งเก็บกักน้ำได้น้อย กว่าความจุของอ่าง (ภาพที่ 38) ปริมาณน้ำจึงมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ประโยชน์ รวมทั้งการผันน้ำ ไปสู่อ่างเก็บน้ำอื่น ๆ ในระบบอ่างพวง ซึ่งอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษาทั้งสามแห่งนี้ มีหลายช่วงเวลาที่มีการเก็บกัก น้ำได้น้อยโดยเก็บกักได้ไม่ถึงครึ่งของความจุของแต่ละอ่าง แม้แต่ในช่วงที่เป็นฤดูฝนเองก็ตาม 4) คุณภาพน้ำผิวดิน การตรวจวัด และเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อศึกษาคุณภาพน้ำผิวดินในแหล่งน้ำที่ใน พื้นที่วิจัย ทั้งบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย และอ่างเก็บน้ำในระบบอ่างพวง ซึ่งมีพื้นที่จุดเก็บ ตัวอย่างรวม 9 จุด เก็บตัวอย่างในช่วงฤดูร้อน (เมษายน 2558) และช่วงฤดูฝน (สิงหาคม 2558) ซึ่งผลการวิเคราะห์ พบว่า บริเวณจุดเก็บตัวอย่าง Outlet ลุ่มน้ำบางตราน้อย มีสภาพเป็นแหล่งน้ำเค็ม จึงมีค่าความเค็ม ค่าความนำ ไฟฟ้า ปริมาณของแข็งแขวนลอยทั้งหมด และความกระด้างทั้งหมด สูงกว่าจุดเก็บตัวอย่างอื่น ๆ ส่วนดัชนีคุณภาพน้ำ ที่มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานในทุกจุดเก็บตัวอย่าง ได้แก่ ค่าความสกปรกในรูปบีโอดี ซึ่งบางจุดเก็บตัวอย่างมีค่าที่สูง มาก ทั้งนี้ แหล่งน้ำต่าง ๆ ที่เก็บตัวอย่างทั้งในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน มีปริมาณน้ำน้อยมาก หลายอ่างเก็บน้ำมี กิจกรรมการจับปลาโดยชาวบ้าน รวมทั้งมีการปล่อยปศุสัตว์ลงไปในแหล่งน้ำ ประกอบกับสภาพที่เป็นแหล่งน้ำปิด จึง ทำให้คุณภาพน้ำบางดัชนีเกินค่ามาตรฐาน ทั้งนี้ ค่า BOD ที่มีค่าสูงนี้สอดคล้องกับค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรียซึ่งมีค่าสูงขึ้น ก็แต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน รวมทั้งพบว่ามีค่าสูงในช่วงการเก็บตัวอย่างครั้ง ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนสำหรับช่วงฤดูฝน แต่ฝนตกน้อยทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ มีน้อยลง นอกจากนั้น ยัง พบว่า ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 ค่าความเป็นกรด-ด่าง ของจุดเก็บตัวอย่างบริเวณบ่อน้ำในอุทยานฯ สิรินธร และ อ่างเก็บน้ำห้วยทราย มีความเป็นด่างเพิ่มขึ้นด้วย


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above