Page 94

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

82 ส่วนการพิจารณาความชุกชุมของสัตว์ป่าสำหรับการสำรวจในครั้งนี้ พบว่า สัตว์ป่าส่วนใหญ่สามารถพบเห็นได้ ทั่วไป พบสัตว์ป่าที่เป็นสัตว์หายาก หรือมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ หรือใกล้ถูกคุกคามน้อยมาก ทั้งนี้ จากสภาพของ ระบบนิเวศที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพธรรมชาติ มีกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน และมีความเสื่อมโทรมของ ป่าไม้ จึงทำให้การเป็นพื้นที่อยู่อาศัย และใช้ประโยชน์ของสัตว์ป่าค่อนข้างจำกัด ทำให้การพบเห็นสัตว์ป่าเป็นไป ได้ยาก จึงพบสัตว์ป่าขนาดเล็ก มีการเคลื่อนที่ และเคลื่อนย้ายได้เร็ว ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการปรับตัวของ สัตว์ป่าต่อสภาพสิ่งแวดล้อม 6.1.3 ทรัพยากรน้ำ การศึกษาด้านปริมาณ และคุณภาพน้ำผิวดินในบริเวณพื้นที่ศึกษา และพื้นที่ใกล้เคียง พิจารณาถึงศักยภาพการให้ลุ่มน้ำของพื้นที่ การบริหารแหล่งเก็บกักน้ำ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งผลการศึกษา มีรายละเอียด ดังนี้ 1) ศักยภาพการให้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำ การประเมินด้านการให้น้ำของระบบนิเวศลุ่มน้ำ พบว่า ลุ่มน้ำบางตราน้อย มี ปริมาณน้ำท่ารายปี9.69 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นความสูง 153.93 มิลลิเมตร และคิดเป็น 16.35 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณน้ำฝน ส่วนลุ่มน้ำห้วยทราย ปริมาณน้ำท่ารายปี2.63 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นความสูง 134.80 มิลลิเมตร คิดเป็น 14.32 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำฝน การวิเคราะห์ข้อมูล และการสำรวจในภาคสนาม พบว่า ปริมาณน้ำในแหล่ง น้ำธรรมชาติ มีน้อยมาก ลำธารธรรมชาติหลายสายไม่มีน้ำเหลืออยู่ ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ อากาศที่ปริมาณน้ำฝนมีน้อย สภาพอากาศที่ร้อน และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินโดยเฉพาะการลดลงของพื้นที่ ป่า การเพิ่มขึ้นของพื้นที่เกษตร พื้นที่ชุมชน และพื้นที่อื่น ๆ ทำให้ลุ่มน้ำมีการเก็บกักน้ำได้น้อย ในขณะที่ความ ต้องการน้ำมีมากขึ้น จึงทำให้น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งเก็บกักต่าง ๆ ลดน้อยลงไปด้วย 2) การประเมินความต้องการใช้น้ำ พิจารณาจากข้อมูลศักยภาพการให้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งลุ่มน้ำบางตราน้อย ให้ปริมาณน้ำท่ารายปี9.69 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนลุ่มน้ำห้วยทราย ให้ปริมาณน้ำท่ารายปี2.63 ล้านลูกบาศก์ เมตร ทั้งนี้ เมื่อประเมินปริมาณความต้องการน้ำ โดยใช้ข้อมูลปริมาณความต้องการใช้น้ำที่คิดเฉลี่ยต่อคนต่อปี ซึ่ง อ้างอิงจากปริมาณความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ในปริมาณ 1,288 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี กับ จำนวนประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนรวมทั้งหมด 2,202 ครัวเรือน โดยเป็นครัวเรือนในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย 1,432 ครัวเรือน จำนวนประชากร 8,592 คน และครัวเรือนใน ลุ่มน้ำห้วยทราย 770 ครัวเรือน จำนวนประชากร 4,620 คน ทั้งนี้ พบว่า ปริมาณความต้องการน้ำของประชากร ในลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย จากข้อมูลที่ศึกษาในปี พ.ศ. 2558 มีปริมาณ 11.07 และ 5.95 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งมีเทียบกับศักยภาพของลุ่มน้ำซึ่งมีศักยภาพในการให้น้ำได้9.69 และ 2.63 ล้านลูกบาศก์ เมตรต่อปี แสดงว่า ปริมาณน้ำที่พิจารณาเฉพาะการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค และบริโภคมีไม่เพียงพอกับความ ต้องการ แต่อย่างไรก็ตาม การคำนวณนี้ไม่ได้พิจารณาถึงการใช้น้ำในกิจกรรมอย่างอื่น ๆ เช่น การชลประทาน ดังนั้น ถือว่าในพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งสองแห่งนี้มีปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำที่รุนแรง รวมทั้งเมื่อพิจารณาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงประชากรในอนาคต เพื่อ คำนวณปริมาณความต้องการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย ซึ่งคำนวณจากประชากรในปี ปัจจุบัน (พ.ศ. 2558) เป็นปีฐานเพื่อคาดการณ์จำนวนประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำในปี พ.ศ. 2563, 2573 และ 2583 ซึ่งจากการคำนวณ พบว่า ประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อยจะเพิ่มขึ้นเป็น 11,498, 20,591 และ 36,876 คน ส่วนประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยทรายจะเพิ่มขึ้นเป็น 6,183, 11,072 และ 19,828 คน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบ


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above