Page 4

โกงกางต้นแรกในประเทศไทย ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

สรุปผลการวิจัย 1. การศึกษาโกงกางลูกผสม (Hybrid) ทำการวิเคราะห์โดยการถอดรหัสพันธุกรรมยีน โดย ดร. สุจิตรา จางตระกูล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ด้านวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สามารถสรุปผลได้ว่าโกงกางลูกผสมเป็นลูกผสมระหว่างโกงกางใบ เล็ก และโกงกางใบใหญ่จริง โดยโกงกางใบใหญ่เป็นต้นแม่ 2. การทดลองตอนกิ่งโกงกางลูกผสม จำนวน 2 ครั้ง ในปี 2560 และ 2562 ได้ผลดังนี้ - ในปี 2560 การทดลองตอนกิ่งโกงกางลูกผสมไม่ได้ผล รากอากาศที่งอกออกมาแห้งเหี่ยวไปในที่สุด ไม่พัฒนาเหมือนรากของ โกงกางใบใหญ่ ซึ่งทดลองตอนกิ่งเช่นกัน ซึ่งโกงกางใบใหญ่มีรากอากาศออกจากกิ่งตอน และจะพัฒนาเป็นรากค้ำยันในเวลาต่อมา - ในปี 2562 ได้ทดลองตอนกิ่งโกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก และโกงกางลูกผสม โดยทำการทดลองใช้ตัวเร่งรากจากกะปิ และ สารเร่งรากจาก Vitamin B1 โดยโกงกางใบใหญ่และโกงกางใบเล็กใช้ตัวเร่งรากจากกะปิ จำนวน 2 ซ้ำ และสารเร่งรากจาก Vitamin B1 จำนวน 1 ซ้ำ ส่วนโกงกางลูกผสมใช้เพียงกะปิเป็นตัวเร่งราก จำนวน 3 ซ้ำ ผลการทดลองยังไม่ประสบผลสำเร็จในการขยายพันธุ์โดย การตอนกิ่งอาจเนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น โกงกางมีสารแทนนินสูง เป็นต้น ผลกำรตอนกิ่งโกงกำงลูกผสม รำกอำกำศที่งอกออกมำแห้งเหี่ยวไปในที่สุด กำรตอนกิ่งของโกงกำงใบใหญ่ โกงกำงใบเล็ก และโกงกำงลูกผสม ในปี 2562 ซึ่งยังไม่ประสบผลส ำเร็จ


โกงกางต้นแรกในประเทศไทย ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
To see the actual publication please follow the link above