Page 120

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

100 บทที่ 10 การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) ในประเทศไทยโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดไมโครแซทเทลไลท์ คำนำ ไม้พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) เป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยมีการใช้ ประโยชน์ของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) อย่างแพร่หลาย ทั้งในรูปของการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ที่มี สีสันและลวดลายสวยงามจนถือได้ว่าเป็นไม้ที่มีราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งในตลาดโลก ทำให้ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ในประเทศไทยกำลังเผชิญกับสภาวะที่ล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์และมีผลกระทบต่อ ความหลากหลายทางพันธุกรรม ในปัจจุบันมีการลักลอบตัดไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ในพื้นที่อุทยาน แห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และป่าสงวน มากขึ้น (น้าชาติ, 2551) ซึ่ง IUCN (2006) ได้จัดไม้พะยูง (D. cochinchinensis) อยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable) และได้บรรจุบัญชีแนบท้าย ของอนุสัญญาการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ Annex II (CITES) COP 16 ปี 2556 ดังนั้นการอนุรักษ์พันธุกรรมของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญและเร่งด่วน อย่างไรก็ตามในการอนุรักษ์พันธุกรรมของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้อง ทราบสภาพความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ซึ่งทั้งนี้ไมโครแซทเทลไลท์ ดีเอ็นเอ หรือที่เรียกว่า simple sequence repeat (SSR) เป็นเครื่องหมายทางพันธุกรรมอย่างหนึ่งซึ่งเป็น ดีเอ็นเอที่มีลำดับเบสซ้ำเรียงตัวกันประมาณ 1-6 นิวคลีโอไทด์ โดยมีการซ้ำติดต่อกันไปเรื่อยๆ เป็นช่วงยาว ตั้งแต่ 2 ซ้ำขึ้นไป มีกระจายอยู่ทั่วไปในจีโนม (Litt and Luty, 1989; Handcock, 1999) ปัจจุบัน ไมโครแซทเทลไลท์เป็นดีเอ็นเอมาร์กเกอร์ ที่นิยมในในการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรม เพราะให้ ความแตกต่างทางพันธุกรรมสูงและแสดงให้เห็นสภาพข่มร่วมกัน จึงมีประโยชน์ในการศึกษาโครงสร้างทาง พันธุกรรม ระบบการสืบพันธุ์ การเคลื่อนย้ายและการถ่ายเทของยีนระหว่างประชากร ในการศึกษาไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ครั้งนี้ สุจิตรา และคณะ (2561) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความหลากหลายของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ในประเทศไทยและเปรียบเทียบความ หลากหลายทางพันธุกรรมของ ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) จากแหล่งต่างๆในประเทศไทย เพื่อใช้เป็น ข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณาการอนุรักษ์พันธุกรรมของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ในประเทศไทย ตลอดจนเป็นฐานข้อมูลลายพิมพ์ดีเอ็นเอในการพิสูจน์เอกลักษณ์ของไม้พะยูง (D. cochinchinensis) เพื่อใช้ ประโยชน์ในการวินิจฉัยต้นพันธุ์และแหล่งที่มาเพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้พะยูง (D. cochinchinensis) และเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุรักษ์ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ในอนาคต


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above