Page 136

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

116 สุจิตรา และคณะ (2564) ได้นำสารละลายดีเอ็นเอที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด ไมโครแซทเทลไลท์ จำนวน 10 ตำแหน่ง ได้แก่ OLI5, OLI6, OLI14, OLI15, OLI16, OLI17, OLI19, COC6, COC7 (Hartvig et al., 2017) และ DL4 (สุจิตราและคณะ, 2552) แสดงใน ตารางที่12.2 โดยใช้ Taq DNA polymerase (Qiagen, Germany) นำสารละลายทั้งหมดเข้าเครื่องเพิ่มปริมาณชิ้นดีเอ็นเอ โดยใช้โปรแกรม ดังนี้ 94 องศาเซลเซียส 3 นาที, 94 องศาเซลเซียส 1 นาที, ที่อุณหภูมิระหว่าง 55 ถึง 58 องศาเซลเซียส ตามอุณหภูมิของ annealing ของไพรเมอร์ 1 นาที และ 72 องศาเซลเซียส 1 นาที จำนวน 30 รอบ, 72 องศาเซลเซียส 10 นาที จากนั้นแยกชิ้นดีเอ็นเอด้วยวิธี polyacrylamide gel electrophoresis ย้อมเจลด้วย ซิลเวอร์ไนเตรทเพื่อดูแถบดีเอ็นเอ นอกจากนี้ได้นำดีเอ็นเอที่เพิ่มปริมาณโดยใช้ไพรเมอร์ที่ติดฉลากด้วยสี ฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งเป็นสารเรืองแสงมาวิเคราะห์ขนาดของดีเอ็นเอโดยใช้เครื่อง ABI 3500 Genetic Analyzer (Applied) Biosystem, USA หลังจากนั้นนำมาวิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรม POPGENE version 1.31 (Yeh et al.,1999) และ TFPGA version 1.3 (Miller, 1997) ตารางที่ 12.1 ตัวอย่างไม้ชิงชัน (Dalbergia oliveri) จากแหล่งต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาความหลากหลาย ทางพันธุกรรม แหล่งที่มา ภูมิภาค จำนวน ตัวอย่าง 1.อุทยานแห่งชาติรามคำแหง จ. สุโขทัย RKH ภาคกลาง 29 2.อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท จ.ลำปาง TPT ภาคเหนือ 27 3.อุทยานแห่งชาติศรีลานนา อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ LND 27 4.อุทยานแห่งชาติศรีลานนา อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ LNM 28 5.อุทยานแห่งชาติแม่วาง จ.เชียงใหม่ MAV 26 6.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา จ.ศรีสะเกษ HSL ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ 23 7.อุทยานแห่งชาติภูหินจอมธาตุ - ภูพระบาท (เตรียมการ) จ.อุดรธานี PUD 30 8.อุทยานแห่งชาตินายูง - น้ำโสม (เตรียมการ) จ.อุดรธานี NYN 27 9.อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จ.อุบลราชธานี PJ 30 10.อุทยานแห่งชาติภูแลนคา จ.ชัยภูมิ PLC 30 11.อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว จ.มุกดาหาร PSD 30 12.อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว จ.ตราด KTR ภาคตะวันออก 25 Total 332 ที่มา: สุจิตรา และคณะ, 2564


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above