Page 143

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

123 ภาพที่ 12.3 แผนผังความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างประชากรไม้ชิงชัน (Dalbergia oliveri) 12 ประชากร ในประเทศไทยจากการจัดกลุ่มโดยวิธี UPGMA (ที่มา: สุจิตรา และคณะ, 2564) สรุปผลการศึกษาวิจัยและข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษาพบว่า ไม้ชิงชันจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ มีความ หลากหลายทางพันธุกรรมมากที่สุด กล่าวคือมีค่า He = 0.84 โดยที่ค่าเฉลี่ยของความหลากหลายทาง พันธุกรรมของไม้ชิงชันทั้ง 12 ประชากรมีค่า He = 0.77 ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างแหล่งของ ไม้ชิงชัน พบว่ามีค่า Fst = 0.13 เมื่อพิจารณาจากประชากรของไม้ชิงชันทั้ง 12 ประชากร พบว่าประชากรของไม้ชิงชันจาก อุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ มีความเหมาะสมในการเลือกเป็นตัวแทนสำหรับการอนุรักษ์ในถิ่น กำเนิด (In situ gene conservation) เนื่องจากมีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงกว่าค่าเฉลี่ยและสูง กว่าประชากรไม้ชิงชันจากแหล่งอื่นๆ อย่างไรก็ตามจะต้องมีการพิจารณาข้อมูลด้านอื่นร่วมด้วย (สุจิตรา และคณะ, 2564) อย่างไรก็ตามนอกจากนี้ได้มีการศึกษาการพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอที่จำเพาะกับแหล่งพันธุกรรม ของไม้ชิงชันในประเทศไทย พบรูปแบบดีเอ็นเอ (Haplotype) รวม 32 รูปแบบ สามารถแยกจังหวัดและ กลุ่มประชากรใน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคอีสานได้ ยกเว้นประชากรในภาคเหนือยังไม่สามารถ แยกความแตกต่างได้ (สุจิตรา และกิตติยา, 2564) รายละเอียดสามารถศึกษาได้จาก Changtragoon and Singthong (unpublished data) ที่กำลังเตรียมจัดพิมพ์เป็นบทหนึ่งของเอกสารตำราต่างประเทศอยู่ คาดว่าจะตีพิมพ์ได้ปลายปีหรือต้นปีหน้า


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above