Page 152

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

132 ส่วนความแตกต่างทางพันธุกรรมของไม้สะเดาไทยในจังหวัดเดียวกันในที่นี้คือจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีค่าน้อยมาก ดังนั้นควรเลือกเก็บเมล็ดไม้ ที่ใดที่หนึ่งเพื่อเตรียมกล้าไม้ก็พอไม่จำเป็นต้องเก็บทั้งสอง ประชากร จากจังหวัดดังกล่าวหากมีงบประมาณจำกัด ผลการทดลองในไม้เสม็ดขาวครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ไม้เสม็ดขาวแม้ขึ้นในท้องที่จังหวัดเดียวกันแต่ก็มี ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างประชากร จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางพันธุกรรมและ วิวัฒนาการของป่าไม้ในแต่ละประชากร เนื่องจากไม้ป่าพรุ ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของโครงการการปรับปรุง พันธุ์ และอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรม หากต้องการเลือกแหล่งเมล็ดไม้ของไม้เสม็ดขาวใ นจังหวัดนราธิวาส สำหรับการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมและเป็น Genetic base สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ในอนาคต ก็ควรจะเลือกป่าบริเวณเขากำปันเป็นอันดับแรก เพราะความหลากหลายทางพันธุกรรม สูงกว่า และมีความ แตกต่างจากป่าบริเวณอื่นในจังหวัดเดียวกัน การศึกษาครั้งนี้ได้ประยุกต์ใช้เครื่องหมายไอโซเอนไซม์ยีน (Isoenzyme gene markers) มาช่วยวินิจฉัยพื้นฐานทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้ป่า โดยในที่นี้ได้ศึกษาระบบ สืบพันธุ์ (Mating system ) โดยการศึกษาอัตราการผสมตัวเอง (Selfing rate) ในไม้สนสองใบ (Pinus merkusii) และความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic diversity) ระหว่างประชากร (Populations) ของไม้สะเดาไทย (Azadirachta indica var. siamensis) และไม้เสม็ดขาว (Melaleuca cajuputi) เพื่อ เป็นข้อมูลทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดเป็นการศึกษาในการช่วยพิจารณาและตัดสินใจว่าคว รเลือก แหล่งของเมล็ดไม้ที่ใดในการผลิต กล้าไม้ที่มีคุณภาพสูง โดยควรคัดเลือกแหล่งของเมล็ดไม้ที่มีอัตราการผสม ตัวเองต่ำ และเลือกแหล่งที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง เพื่อมาเตรียมการปลูกป่าตามวัตถุประสงค์ ต่างๆ ไม่ว่าเพื่ออนุรักษ์แหล่งพันธุกรรม รักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม ปรับปรุงพันธุ์ เพื่อพัฒนา สิ่งแวดล้อมหรือหวังผลเชิงการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของข้อมูลพื้นฐานทางพันธุกรรมของไม้ป่าแต่ละชนิด ซึ่งมีพื้นฐาน ทางพันธุกรรมแตกต่างกันไป ไม่ว่าไม้ต่างชนิดหรือแม้กระทั่งชนิดเดียวกัน ในแต่ละประชากรหรือท้องที่ก็มี ความหลากหลายทางพันธุกรรมและโครงสร้างทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับระบบการ สืบพันธุ์ (Mating system) โครงสร้างทางพันธุกรรม (Genetic structure) และวิวัฒนาการ (Evolutional history) ของไม้แต่ละชนิดและแต่ละแหล่งนั่นเอง การตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลทางพันธุกรรมของไม้ป่าแต่ละชนิดและนำข้อมูลดังกล่าวมา ประกอบการพิจารณาในการวางแผนปลูกป่า ไม่ว่าวัตถุประสงค์ใดๆ ก็จะช่วยให้ได้เมล็ดและกล้าไม้ที่มี คุณภาพ ซึ่งก็จะทำให้การปลูกป่าในไม้แต่ละชนิดได้ผลและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (สุจิตรา, 2537)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above