Page 153

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

133 บทที่ 14 การพัฒนาดีเอ็นเอบาร์โค้ด (DNA barcode) เพื่อการคุ้มครองพันธุ์ไม้ป่าหวงห้ามและ ไม้ป่าในบัญชี CITES ในประเทศไทย คำนำ ปัจจุบันป่าไม้ในประเทศไทยได้ถูกทำลายเป็นจำนวนมาก จนมีพื้นที่เหลือเพียงประมาณ 31.68% (สำนักแผนงานและสารสนเทศ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2563) โดยเฉพาะไม้ที่มีค่าซึ่งบาง ชนิดเป็นไม้หวงห้าม บางชนิดเป็นไม้ที่อยู่ในบัญชีอนุสัญญา CITES : Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการ บังคับใช้กฎหมายทางด้านนิติวิทยาศาสตร์จึงต้องมีการจัดทำฐานข้อมูลพันธุกรรมพืชที่จำเพาะแต่ละชนิดเพื่อ ใช้ในการเปรียบเทียบวินิจฉัยชนิดพันธุ์ในการขยายผลการบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากประสบการณ์ในอดีต เช่น สำนักป้องกันและปราบปรามไฟป่า หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์ุพืช และกรมป่าไม้ รวมทั้งสถานีตำรวจในท้องที่ได้มีการร้องขอให้มีการตรวจพิสูจน์เนื้อไม้จากตัวอย่างของกลาง เนื้อไม้และขี้เลื่อยเพื่อต้องการพิสูจน์ว่า วัตถุของกลางเป็นไม้ชนิดเดียวกันหรือไม่ และวัตถุของกลางเป็นไม้ ชนิดใดเป็นไม้หวงห้ามหรือไม่ซึ่งของกลางดังกล่าวไม่สามารถพิสูจน์ลักษณะทางสัณฐานและกายภาพใน รูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น ขี้เลื่อย ผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆได้ นอกจากนี้การจำแนกชนิดทางด้านสัณฐาน วิทยาทำได้ยากโดยเฉพาะไม้ป่าที่มีลักษณะทางกายภาพใกล้เคียงกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดำเนินการในการ จัดทำฐานข้อมูลทางพันธุกรรมที่มีความจำเพาะ (ดีเอ็นเอบาร์โค้ด) ในไม้ที่มีความสำคัญ มีค่าทางเศรษฐกิจ และไม้หวงห้ามแต่ละชนิด เพื่อเป็นฐานข้อมูลทางด้านพันธุกรรมใช้ในการคุ้มครองและป้องกันตลอดจนใน การจำแนกชนิดของตัวอย่างของกลางว่าเป็นไม้หวงห้ามและไม้ในบัญชี CITES หรือไม่ ซึ่งสามารถนำมา ขยายผลไปบังคับใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพในอนาคต (สุจิตรา, 2560) ไม้มีค่าที่เป็น ไม้หวงห้ามและไม้ที่อยู่ในบัญชี CITES หลายชนิด ได้ถูกลักลอบตัดโดยผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก การ จัดทำดีเอ็นเอบาร์โค้ดจากไม้ป่าหวงห้ามและไม้ป่าในบัญชี CITES เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลด้านพันธุกรรม และใช้ในการจำแนกชนิดพันธุ์และคุ้มครองพันธุ์ จากการศึกษาด้วยส่วนของคลอโรพลาสต์จีโนม สามารถใช้ ในการจำแนกชนิดของไม้ของกลางที่ถูกลักลอบได้ว่าเป็นไม้ที่ผิดกฎหมายหรือไม่ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการ ดำเนินคดี ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันรักษาทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าของกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในด้านการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้สามารถตรวจสอบ หลักฐานและสถานการณ์ได้รวดเร็ว แม่นยำ เพื่อนำผลการพิสูจน์มาใช้เป็นหลักฐานการดำเนินคดีได้ ในการ ตรวจสอบชนิดพันธุ์ของพืชป่าด้วยข้อมูลด้านดีเอ็นเอ ดังนั้นการจัดทำดีเอ็นเอบาร์โค้ดเพื่อเป็นฐานข้อมูลด้าน พันธุกรรมโดยการถอดรหัสพันธุกรรมที่ตำแหน่งของยีนและที่ไม่ใช่ส่วนของยีนที่จำเพาะของชนิดพันธุ์นั้น จะ เป็นการช่วยคุ้มครองพันธุ์และบังคับใช้กฎหมายในการลักลอบตัดไม้ป่าของหวงห้ามและ ไม้ป่าในบัญชี CITES ในอนาคตได้ เนื่องจากพันธุ์ไม้ป่าต่างๆนั้นมีคุณค่าทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก ได้มีนำเนื้อไม้มาใช้ในการ ก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและเครื่องใช้ต่างๆ นอกจากนั้นยังมีไม้บางชนิดให้ประโยชน์อย่างอื่นที่สูงกว่าเนื้อไม้


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above