Page 249

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

229 ทำให้มีการออกดอกพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้อัตราการผสมตัวเองลดลงกว่าในพื้นที่ธรรมชาติดังเดิมที่มีอายุมาก แล้ว ดังนั้นจึงขอแนะนำดังนี้คือ ควรจัดทำแปลงอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิด 3-6 แปลง อย่างน้อยควรมีหนึ่งแปลง ในแต่ละภูมิภาคที่มีการกระจายพันธุ์ธรรมชาติของสนสองใบขึ้น กล่าวคือในภาคเหนือ ภาคกลางและ ตะวันออกเฉียงเหนือในการเก็บเมล็ดไม้สนสองใบนั้นควรเก็บจากประมาณ 20 ต้นจาก 3 แหล่ง (ประชากร) ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน เนื่องจากไม้สนสองใบมีความหลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างต่ำ ดังนั้นจำนวนที่ กล่าวจึงเพียงพอที่จะมีข้อมูลและฐานทางพันธุกรรมที่เพียงพอสำหรับการอนุรักษ์ไม้สนสองใบนอกถิ่นกำเนิด ในประเทศไทย ซึ่งเมล็ดจากภูมิภาคเดียวกันควรเก็บโดยสุ่มที่เป็นตัวแทนของภูมิภาคและนำมารวมกันอย่าง ทั่วถึง (Bulked) และปลูกเป็นแปลงปลูกนอกถิ่นกำเนิดที่มีขนาดแต่ละแปลง 6.25 ไร่ (1 เฮกเตร์) ซึ่งควรทำ 2 แห่ง ที่ง่ายต่อการปกป้องดูแลในแต่ละภูมิภาค ดังนั้นเมื่อรวมทุกภูมิภาคแล้วควรปลูก (Changtragoon and Finkeldey, 1995a) 2. ไม้สัก (Tectona grandis) จากพื้นฐานข้อมูลการศึกษาวิจัยดังกล่าวข้างต้นโดยใช้เครื่องหมาย ดีเอ็นเอ (RAPD) ที่มีความผันแปรทางพันธุกรรมสูงกว่าการใช้ไอโซเอนไซม์ยีนศึกษานั้น จะเห็นว่าความ หลากหลายทางพันธุกรรมของไม้สักมีค่อนข้างสูง และความแตกต่างระหว่างแหล่งก็มีค่อนข้างสูงเช่นกัน ดังนั้นควรคัดเลือกสนับสนุนให้อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์และมีไม้สัก ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้วทุกแห่งเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมในถิ่นกำเนิดของไม้สัก จากผลการศึกษา ดังกล่าวนั้นจะเห็นว่าไม้สักมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง ซึ่งมีสถานภาพเป็นแหล่งทรัพยากรทาง พันธุกรรมของไม้สักของประเทศไทยที่หลากหลาย ดังนั้นควรที่จะมีอย่างน้อย 1 แหล่ง (ประชากร) ในแต่ละ จังหวัดที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์อยู่แล้ว ให้เป็นแหล่งอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิด โดยเฉพาะภาคเหนือ อย่างไรก็ตาม จังหวัดลำปางที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างสูงจึงควรเลือกมากกว่า 1 แหล่ง (ประชากร) เช่น อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทย จังหวัดลำปาง และอีกแหล่งที่อยู่นอกพื้นที่อนุรักษ์ แต่มีความหลากหลายทาง พันธุกรรมสูงที่สุด คือ หมู่บ้านบ้านใหม่ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง และจังหวัดอื่นๆ เช่น อำเภอเทพนิมิต จังหวัดอุตรดิตถ์ อุทยานแห่งชาติลานสาง จังหวัดตาก อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่ และอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในกรณีของอุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่ นั้นสมควรที่จะเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมในถิ่นกำเนิดของไม้สักในประเทศไทยด้วย ถ้าจะมีการพิจารณา สร้างเขื่อนบริเวณดังกล่าวก็ควรไตร่ตรองให้รอบคอบ หากเป็นนโยบายของประเทศที่ให้ดำเนินและหลีกเลี่ยง ไม่ได้ ก็ควรเก็บเมล็ดและท่อนพันธุ์จากพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม โดยควรเก็บอย่างน้อย 100 ต้นขึ้นไป ที่ สามารถเป็นตัวแทนฐานพันธุกรรมของแหล่ง (ประชากร) ดังกล่าวได้ และนำมาอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิดโดย ปลูกทั้งแบบธนาคารยีน (Gene bank) และเพาะกล้าไม้แบบแยกต้น (Families) ก่อนการคัดเลือกต้นกล้าที่ เป็นตัวแทนของแต่ละต้นเพื่อเป็นตัวแทนของแหล่งดังกล่าว ในที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อการถูกคุกคาม อย่างไรก็ตามหากแหล่งใดล่อแหลมต่อการบุกรุกทำลายป่าก็สมควรที่จะนำมาอนุรักษ์นอกถิ่น กำเนิดด้วย จากพื้นฐานข้อมูลการประเมินอัตราการผสมข้ามที่พบในไม้สัก พบว่ามีอัตราการผสมข้ามสูง แต่ก็ยังมีบางต้นที่มีอัตราการผสมตัวเองสูงเช่นกัน ดังนั้นในการเก็บเมล็ดไม้สักเพื่อนำมาปลูกเพื่อการอนุรักษ์ ควรเก็บแบบแยกต้นและแยกแหล่ง (ประชากร) และควรระบุปีที่เก็บด้วย เพื่อเป็นข้อมูลในการคัดเลือกเมล็ด


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above