Page 250

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

230 ก่อนการปลูกนอกถิ่นกำเนิดเพราะเมล็ดที่มีอัตราการผสมตัวเอง หรือในหมู่เครือญาติจะทำให้โอกาสการรอด ตายมีต่ำและมีความต้านทานต่อโรคและแมลงต่ำกว่าเมล็ดไม้ที่มีอัตราการผสมข้ามสูง และควรคัดเลือกเมล็ด ไม้ที่มีอัตราการผสมข้ามสูงเท่านั้นไปปลูกเป็นแหล่งพันธุกรรมของไม้สักของแหล่ง (ประชากร) นั้นๆ ส่วนใน ไม้สักที่อยู่นอกพื้นที่อนุรักษ์ เช่น บริเวณหมู่บ้านเก่งประลอม และหมู่บ้านวังน้ำวน จัง หวัดกาญจนบุรี ที่อยู่ นอกพื้นที่อนุรักษ์ มีอยู่ปะปนกับชุมชน หมู่บ้าน และยังมีความหลากหลายทางพันธุ กรรมต่ำกว่าที่อื่น ควร เก็บเมล็ดและท่อนพันธุ์ที่เป็นตัวแทนของแหล่งดังกล่าว แหล่ง (ประชากร) ของจังหวัดกาญจนบุรี มาปลูก เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมนอกถิ่นกำเนิดที่สามารถดูแลได้ง่าย และปลอดภัยต่อการบุกรุกทำลาย (Changtragoon and Szmidt, 1999; Changtragoon 2001a) 3. ไม้ยางนา (Dipterocarpus alatus) จากผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น จึงได้ข้อมูลเป็น แนวทางได้ว่าไม้ยางนาแต่ละแหล่ง (ประชากร)มีความหลากหลายทางพันธุกรรมแตกต่างกัน แม้ลักษณะ ภายนอกของไม้ยางนาโดยทั่วไปไม่แตกต่างกันนักโดยมีความสูงเปลาตรง หากดูเผินๆ แล้วคิดว่าแต่ละแหล่ง (ประชากร)ไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญแหล่งพันธุกรรมของไม้ยางนาในแต่ละภูมิภาค โดยควรจัดให้มีการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดทุกภูมิภาค และให้ความสำคัญในการอนุรักษ์แหล่งที่มีความ หลากหลายทางพันธุกรรมที่สูงและมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงกว่าค่าเฉลี่ย เช่น หมู่บ้านดงฟ้าห่วน จังหวัดอุบลราชธานี ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และอำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในการใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่มีความผันแปรในแต่ละ ตำแหน่งสูง เช่น เครื่องหมายดีเอ็นเอไมโครแซทเทลไลท์ (Microsattelite markers: SSR) ในอนาคตเพื่อจะ ได้ข้อมูลพื้นฐานทางพันธุกรรมมากขึ้น (สุจิตรา และบุญชุบ, 2542) 4. ไม้โกงกาง 4.1. ไม้โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) จากผลการศึกษาข้างต้นมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) ควรจัดทำแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมในถิ่นกำเนิดในแหล่ง (ประชากร) ที่มีความหลากหลายทา ง พันธุกรรมสูงมีอัตราผสมข้ามสูงและเป็นตัวแทนของฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย โดยใช้การกระจายไปตาม ระดับลองติจูด ดังนั้นในไม้โกงกางใบเล็กควรอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมที่ จังหวัดสงขลา, อำเภอกันตัง จังหวัด ตรัง, อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะภูเก็ต หมู่บ้านสลักคอก เกาะช้าง และอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัด จันทบุรี 2) แหล่ง (ประชากร) ของไม้โกงกางใบเล็กที่ควรฟื้นฟูป่า คือหมู่บ้านคลองพร้าว เกาะช้าง จังหวัด ตราด อำเภอเมือง จังหวัดระนอง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล หมู่บ้านแสมชัย จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอสวี จังหวัดชุมพร เพราะมีความหลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างต่ำกว่าค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมเฉลี่ย 3) ควรมีการจัดทำฐานข้อมูลการเก็บฝักไม้โกงกางใบเล็กว่าเก็บมาจากที่ใด เมื่อใด ปลูกเมื่อใดและมี ป้ายปักอย่างชัดเจนที่ระบุรายละเอียดดังกล่าวข้างต้น 4) การเก็บฝักไม้โกงกางใบเล็กเพื่อการอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิด หรือการปลูกฟื้นฟูป่า หรือปลูกป่า ควรมีการประเมินอัตราผสมข้ามของฝักไม้โกงกางใบเล็กก่อนนำไปปลูก โดยควรเก็บแบบแยกต้นกันโดยให้


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above